วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

RAYMOND WEIL Maestro Lady



Maestro เป็นคอลเลคชั่นเรือนเวลาจากแบรนด์ RAYMOND WEILที่ขอเชิดชูเหล่าช่างประดิษฐ์นาฬิกาที่สามารถถ่ายทอดศาสตร์การประดิษฐ์นาฬิกาให้แก่ชนรุ่นหลังไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน ว่าเป็นเหมือน “ปรมาจารย์” หรือวาทยกรผู้นำวงดนตรีออเคสตร้าชั้นเอกนั่นเอง ปีนี้ RAYMOND WEILขอเสนอ Maestro Ladyนาฬิกาผลงานละเมียดละไมสำหรับสุภาพสตรีโดยเฉพาะ
ด้วยหน้าปัด เนื้อมุกสีขาว พร้อมประดับเพชรที่บริเวณขอบหน้าปัดและบริเวณหน้าปัดเป็นเครื่องหมายบอกเวลา ลวดลายกีโยเช่บริเวณกลางหน้าปัด สิ่งเหล่านี้ได้หล่อหลอมเข้าไว้ด้วยกันจนเกิดเป็นนาฬิกา Maestro Ladyที่สะท้อนถึงนวัตกรรม เทคโนโลยีชั้นสูง และความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์ของ แบรนด์ได้อย่างดี
ความพิเศษอีกอีกอย่างหนึ่งในเรือนเวลา Maestro Lady นั้นคือการเปิดโชว์บาล้านซ์วีลบนหน้าปัดตำแหน่ง12นาฬิกา เผยให้เห็นถึงหัวใจกลไกไขลานอัตโนมัติของเรือนเวลาเรือนนี้ ตัวเรือนสเตนเลสสตีลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง30มิลิเมตร สายนาฬิกามีให้เลือกสองแบบคือ สายนาฬิกาแบบสายสร้อยข้อมือสเตนเลสสตีลหรือสายนาฬิกาหนังสีดำหรือสีชมพูสดใส

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

อินเฮ้าส์ตัวจริง‏ (ต่อจากตอนที่แล้ว)


" ตอนนี้ Escapement ที่ใช้คือ Clinergic ของสวิสซึ่งเดินที่ความถี่สูง 28,800 VPH ชุด Balance ประเด็นที่น่าสนใจก็คือหลังจากที่ TAG Heuer ได้พัฒนาเครื่องใหม่ ให้มีความบางลงเล็กน้อย 7.13 มิลลิเมตร ในขณะที่เส้นผ่าศูนย์กลางของเครื่องก็ยาวขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของนาฬิกาในปัจจุบันที่ใหญ่ขึ้น แต่ก็ไม่ได้ใหญ่ขึ้นมากนักคือ 29.3 มิลลิเมตร สรุปก็คือเป็นเครื่องขนาดกำลังดี ไม่ได้บางพิเศษอะไรสำหรับเครื่องจับเวลากลไกอัตโนมัติ อย่างเครื่อง EI Primero ก็หนาเพียง 6.5 มิลลิเมตร แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ถือว่าเครื่องรุ่นนี้ขนาดกำลังดีและไม่ได้ใหญ่เกินไป ทำให้ TAG Heuer สามารถนำไปใส่ในตัวเรือนนาฬิกาทั้งที่มีขนาดใหญ่และเล็กได้ "

" ที่สำคัญคือว่าเครื่องรุ่นนี้ได้รับการขัดแต่งอย่างเหมาสมตามมาตรฐานสวิส ทั้งลาย Cotes de Geneve ลายก้นหอย การลบเหลี่ยมมุมด้วยกระบวนการ Diamond Polishing พร้อมกับใช้ Blue Colum Wheel ด้วยสกรูว์คุณภาพดี และเครื่องนาฬิการุ่นนี้ยังเดินดีอีกด้วย " Roberts กล่าวอย่างไม่ลังเลว่า " TAG Heuer สมควรมีสิทธิ์เรียกเครื่องรุ่นนี้ว่าเป็นเครื่องอินเฮ้าส์ได้แล้ว ในกรณีนี้ผมว่าเราสามารถพูดได้แล้วว่านี่คือเครื่องอินเฮ้าส์ของ TAG Heuer อย่างแท้จริง เหตุผลน่ะหรือครับ ก็เพราะว่า TAG Heuer เขาออกแบบเครื่องนี้ใหม่หมดแล้วและผลิตทุกชิ้นส่วนเอง "

ขยายกำลังและศักยภาพ‏
เนื่องด้วยขนาดของ TAG Heuer จึงมีความน่าจะเป็นว่าบริษัทจะต้องการเก็บเครื่องทั้งหมดที่ผลิตไว้ใช้เอง แต่ก็คงจะเป็นเรื่องตลกไม่ใช่เล่นหากวันหนึ่ง TAG Heuer มีกำลังการผลิตเครื่องได้มากพอที่จะขายให้กับแบรนด์อื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเครื่องขึ้นใช้เองได้หลังจากที่ Swatch Group เลิกขายเครื่องให้แล้ว ปัจจุบันนี้ TAG Heuer มีกำลังในการผลิต เริ่มต้นที่ 25,000 เครื่องต่อปี และมีแผนในการเพิ่มอัตราอีก 10,000 เครื่องต่อปี ขณะนี้ TAG Heuer ใช้เครื่องรุ่นดังกล่าวในนาฬิกาเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น หลังจากนี้ก็น่าจะมีการโมดิฟายเพิ่มเติมเพื่อการใช้งานในนาฬิการุ่นอื่นๆ ต่อไป



ดังที่ Roberts กล่าวว่า " เครื่องรุ่นนี้มีต้นทุนในการผลิตสูงมาก แต่ถ้าคุณสามารถผลิตได้ 50,000 เครื่อง ต้นทุนก็จะลดลง และถ้าคุณทำได้อีก 200,000 เครื่อง ต้นทุนก็จะยิ่งลดลงมาอีก ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ไปปีต่อปีความคุ้มในการผลิตก็จะเกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนของการซื้อเครื่อง Valjoux นี่เป็นเหตุผลหลักที่หลายต่อหลายบริษัทเริ่มผลิตเครื่องอินเฮ้าส์กันเอง ผมไม่คิดว่าอยู่ดีๆ TAG Heuer หรือ Breitling จะลุกขึ้นมาทำอะไรอย่างนี้หากไม่ได้เป็นกังวลเรื่องการจะเลิกเครื่องให้ในอนาคต " หนึ่งข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ก็คือราคาค่าตัวของ Carrera Calibre 1887 ซึ่งตั้งไว้ถูกเหลือเชื่อเพียง £ 2,350 เท่านั้น

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

TAG HEUER CALIBRE 1887‏



เลขรุ่น 1887 ของเครื่องตัวใหม่ของ TAG Heuer นี้มีที่มาจากปีที่ Edouard Heuer คิดค้นระบบ Oscillating Pinion ขึ้น แต่เมื่อ TAG Heuer เปิดตัวเคร่ืงรุ่นนี้โดยระบุว่าเป็นเครื่องที่พัฒนาขึ้นเองแบบอินเฮ้าส์ทั้งหมดRobers ก็ได้รับทราบมาจากการประชุมกับวิศวกรของ TAG Heuer ว่าทางแบรนด์ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องรุ่นดังกล่าวเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจหลายประการมาตั้งแต่ที่เริ่มลงมือมาตั้งแต่ปี 2007
" เครื่องรุ่นนี้มีกลไกการจับเวลาแบบ Column Wheel และ Oscillating Pinion ซึ่งก็บังเอิญเป็นนวัคกรรมของ TAG Heuer ในปี 1887 เรียกได้ว่าเป็นเครื่องนาฬิกาจับเวลาที่มีความสวยงามรุ่นหนึ่งเลย "
" เราจะเห็นได้ว่าเครื่องรุ่นนี้ใช้ Balance Spring และ Shock Absorber แบบใหม่เพื่อเน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอยก่อนรูปลักษณ์ "



เมื่อ Roberts ได้วิเคราะห์เครื่อง Calibre 1887 ในรายละเอียดแล้วก็อดรู้สึกไม่ได้ว่านี่คือเครื่องที่ผ่านการคิดค้นใหม่โดยสมบูรณ์ อินเตอร์เฟชระหว่างเครื่องเบสและกลไกจับเวลาของเครื่องรุ่นนี้ทำงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือมี Oscillating Pinion ทำหน้าที่เชื่อมต่อชุดเกียร์โดยการเคลื่อน Pinion ในทิศทางแนวนอนเพื่อเข้าสัมผัส แต่อย่างที่ Roberts กล่าวว่า " แฟชั่นล่าสุดซึึ่งเราจะได้มาดูกันต่อไปในเครื่องของ Breitling ก็คือสิ่งที่เขาเรียกกันว่า Vertical Clutch ซึ่งก็ทำงานเหมือนกับครัทช์ในรถยนต์นี่แหละครับ เป็นชิ้นส่วนที่ช่วยให้คุณสามารถสั่งเริ่มต้นและหยุดการทำงานของกลไกจับเวลาได้ ระบบที่สามซึ่งเป็นแบบคลาสสิกเลยก็คือการใช้ Spur Gear ซึ่งสามารถควบคุมให้เริ่มต้นหรือหยุดการทำงานได้ด้วย Coupling Device "



วิศวกรรมล้ำเลิศ‏
" หากจะให้เปรียบเทียบก็คงพูดได้ว่าระบบของ TAG Heuer เป็นระบบที่ดีมาก มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นที่ประจักษ์ว่ามีการใช้งานกันในเครื่องนาฬิกาจำนวนมากกว่าระบบอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน "
Roberts ทราบมาว่า TAG Heuer ต้องใช้เวลากับการออกแบบวิศวกรรมกลไกเป็นอย่างมาก " ดีไซเนอร์ของเขาต้องออกแบบเครื่องใหม่หมด เพื่อเริ่มดูว่าจะผลิตแต่ละชิ้นอย่างไร ขั้นตอนนี้ไม่ใช่อะไรง่ายๆ อย่างที่ใครอาจจะคิด การทำให้ได้ดีและมีความสมบูรณ์ในทางวิศวกรรมอย่างที่ TAG Heuer ทำนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย "



" งานนี้เป็นงานที่ยากและละเอียดอ่อน และไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้มีราคาถูกเท่านั้นแต่ยังออกแบบมาเพื่อให้ผลิตโดยเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีความทันสมัยและเทคนิคการผลิตล่าสุดอีกด้วยชิ้นส่วนหลักของเครื่องทั้งเก้าชิ้น อาทิ Main Plate และ Bridge ทั้งหมดผลิตขึ้นที่โรงงาน Cormol ในเทือกเขาจูราของสวิส โรงงานแห่งนี้มีการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ล่าสุดจนเข้าขั้นเป็นโรงงานที่ล้ำสมัยที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ในขณะนี้ ส่วนการประกอบหลักนั้นทำที่โรงงานในลา โซซ์-เดอ-ฟงด์ส ซึ่งมีชื่อเรียกว่า T1 Assembly




" เกณฑ์สำคัญเกณฑ์หนึ่งของเขาเท่าที่ผมเข้าใจก็คือการเอาเครื่องอินส์เฮ้าส์ไปใส่ในนาฬิการะดับราคาเท่ากับที่ใช้เครื่อง Valjoux 7750 และ TAG Heuer ก็ทำเช่นนั้นได้จริงแล้วด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลย เมื่อก่อนนี้เครื่อง 7750 นี่ซื้อหากันได้ในราคาถูกมากๆ แต่ในทุกวันนี้กลับมีราคาที่แพงขึ้น แล้ววิธีการผลิตเครื่องแบบใหม่นี้ก็จะเป็นการประหยัดมากกว่า ในขณะที่ Breitling เลือกแก้ปัญหาในอีกแนวทางหนึ่ง "
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ
QP - DEVOTEDV TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue Thirty Dec . 2010


พรุ่งนี้มาต่อกันครับยังไม่จบ.....

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

CONCORD C2 Chronograph



นาฬิกาข้อมือจับเวลาสปอร์ตลํ้าสมัยจากแบรนด์นาฬิกาแห่งนวัตกรรมสุดแกร่ง CONCORD C2 ตัวเรือนทรงกลมสปอร์ต ขนาด43มิลิเมตร หนา12มิลิเมตร ผลิตด้วยสเตนเลสสตีลชุบแบล็คพีวีดี กระจกหน้าปัดคริสตัลแซฟไฟร์กันแสงสะท้อน พื้นหน้าปัดสีดำสไตล์มัลติเลเวล



ตกแต่งโดยใช้วิธีพ่นทรายเสริมลุคให้ดูดำด้านแบบสปอร์ต ตัดกับมาร์คเกอร์และเข็มหุ้มด้ายสารเรืองแสง SuperLumiNova แสดงเวลาแบบสามเข็มบนหน้าปัดหลักและจับเวลาบนหน้าปัดย่อย แสดงเวลาเป็นชั่วโมง นาที วินาที และวันที่ พร้อมสามารถจับเวลาได้ในแบบ60วินาที 30นาที และ12ชั่วโมงควบคุมการทำงานด้วยเครื่องไขลานออโตเมติก คาลิเบอร์ ETA 2894-2 มีทับทิม37เม็ด เดินด้วยความถี่ 28800ครั้งต่อชั่วโมง สปอร์ตลงตัวมากยิ่งขึ้นกับสายยางสีดำVulcanizedแต่งแต้มริ้วลายสีแดง กันนํ้าได้ลึก100เมตร


วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

All in the Movement เรื่องเครื่องเรื่องใหญ่‏




TAG Heuer
และ Breitling เป็นสองแบรนด์ที่แม้จะจัดอยู่ในระดับยักษ์ใหญ่แต่ก็ยังคงได้รับแรงกดดันให้พัฒนาเครื่องอินเฮ้าส์เป็นของตนเองเหมือนแบรนด์อื่นๆ ทั้งสองแบรนด์นี้มียอดการใช้เครื่อง ETA/Valjoux ปีละเป็นแสนเครื่องและจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างยิ่งจากปัจจัยเรื่องต้นทุน เงื่อนไขและการจัดส่งเครื่องจาก Swatch Group ผู้ผลิตซึ่งมีแผนจะเลิกสนับสนุนเครื่องในอนาคต ดังนั้น ณ นาทีนี้จึงไม่มีแบรนด์อื่นใดที่จะต้องเป็นกังวลเรื่องอนาคตของเครื่องเท่ากับ TAG Heuer และ Breitling อีกแล้ว
Ken Kessler และ Peter Roberts FBHI



TAG Heuer และ Breitling ต่างเลือกรับมือกับการตัดสินใจของ Swatch Group ที่จะเลิกส่งเครื่องให้บริษัทนอกเครือด้วยการพัฒนาเครื่องอินเฮ้าส์ขึ้นใช้เอง ในกรณีของทั้งสองแบรนด์นี้ต่างก็เลือกผลิตเครื่องนาฬิกาจับเวลากลไกอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เสียค่าที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ทั้งคู่ แต่เส้นทางในการพัฒนาของทั้งสองแบรนด์นั้นไม่เหมือนกันและบ่งบอกถึงความตั้งใจและกลยุทธ์ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี QPจึงต้องจัดให้ช่างนาฬิกาใหญ่ Peter Roberts FBHI ไปวิเคราะห์ทั้งสองพัฒนาการนี้ สุภาพบุรุษท่านนี้เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนช่างนาฬิกา WOSTEP แห่งสวิสและอดีตอาจารย์ประจำ Hackney Technical College ซึ่งเป็นที่ๆ Peter Speake-Marin และ Stephen Forsey เคยเรียนหนังสืออยู่ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ Bremont ทั้งนี้ Roberts มีประสบการณ์หลายทศวรรษในการทำงานกับ rolex และแบรนด์อื่นๆ จึงถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบเครื่องนาฬิกาท่านหนึ่งของโลก

เลขรุ่น 1887 ของเครื่องตัวใหม่ของ TAG Heuer นี้มีที่มาจากปีที่ Edouard Heuer คิดค้นระบบ Oscillating Pinion ขึ้น แต่เมื่อ TAG Heuer เปิดตัวเคร่ืงรุ่นนี้โดยระบุว่าเป็นเครื่องที่พัฒนาขึ้นเองแบบอินเฮ้าส์ทั้งหมดRobers ก็ได้รับทราบมาจากการประชุมกับวิศวกรของ TAG Heuer ว่าทางแบรนด์ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องรุ่นดังกล่าวเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจหลายประการมาตั้งแต่ที่เริ่มลงมือมาตั้งแต่ปี 2007
" เครื่องรุ่นนี้มีกลไกการจับเวลาแบบ Column Wheel และ Oscillating Pinion ซึ่งก็บังเอิญเป็นนวัคกรรมของ TAG Heuer ในปี 1887 เรียกได้ว่าเป็นเครื่องนาฬิกาจับเวลาที่มีความสวยงามรุ่นหนึ่งเลย "
" เราจะเห็นได้ว่าเครื่องรุ่นนี้ใช้ Balance Spring และ Shock Absorber แบบใหม่เพื่อเน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอยก่อนรูปลักษณ์ "
เมื่อ Roberts ได้วิเคราะห์เครื่อง Calibre 1887 ในรายละเอียดแล้วก็อดรู้สึกไม่ได้ว่านี่คือเครื่องที่ผ่านการคิดค้นใหม่โดยสมบูรณ์ อินเตอร์เฟชระหว่างเครื่องเบสและกลไกจับเวลาของเครื่องรุ่นนี้ทำงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือมี Oscillating Pinion ทำหน้าที่เชื่อมต่อชุดเกียร์โดยการเคลื่อน Pinion ในทิศทางแนวนอนเพื่อเข้าสัมผัส แต่อย่างที่ Roberts กล่าวว่า " แฟชั่นล่าสุดซึึ่งเราจะได้มาดูกันต่อไปในเครื่องของ Breitling ก็คือสิ่งที่เขาเรียกกันว่า Vertical Clutch ซึ่งก็ทำงานเหมือนกับครัทช์ในรถยนต์นี่แหละครับ เป็นชิ้นส่วนที่ช่วยให้คุณสามารถสั่งเริ่มต้นและหยุดการทำงานของกลไกจับเวลาได้ ระบบที่สามซึ่งเป็นแบบคลาสสิกเลยก็คือการใช้ Spur Gear ซึ่งสามารถควบคุมให้เริ่มต้นหรือหยุดการทำงานได้ด้วย Coupling Device "

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ
QP - DEVOTEDV TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue Thirty Dec . 2010

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

CARL F.BUCHERER Patravi EvoTec PowerReserve


นาฬิกาเรือนใหม่ของ CARL F.BUCHERER ตั้งอยู่บนพื้นฐานเดิมคือ อ่านค่าเวลาได้ง่ายและชัดเจน ตัวเรือนงดงามด้วยรูปทรงคล้ายหมอนอิง พร้อมขอบตัวเรือนทำจากยาง หน้าปัดงดงามทันสมัย พร้อมกลไกที่ CARL F.BUCHERER ออกแบบและสร้างขึ้นมาเอง มาพร้อมฟังก์ชั่น สลับซับซ้อนหลายฟังก์ชั่น พลังงานสำรองลาน บอกวันที่ และวันที่ขนาดใหญ่ดูวินาทีที่หน้าปัดย่อย

นาฬิกาเรือนนี้ คือการออกแบบ ”ช่องบอกพลังสำรองลาน” ได้อย่างงดงาม คือระหว่างตำแหน่ง2-4นาฬิกา ช่องบอกวันที่ขนาดใหญ่ถูกจัดวางไว้ในตำแหน่ง10-11นาฬิกา เป็นการออกแบบที่สมส่วนและงดงามแบบไร้ที่ติ ตัวเรือนสเตนเลสสตีลขนาด43.5 x 43.75 มิลิเมตรขอบตัวเรือนทำจากยาง เม็ดมะยมขันเกลียวกระจกคริสตัลแซฟไฟร์ เคลือบกันแสงสะท้อนทั้งด้านนอกและด้านใน ฝาหลังโปร่งใสทำจากกระจกคริสตัลแซฟไฟร์ กันน้ำได้ลึก 50 เมตร กลไกไขลานอัตโนมัติ คาลิเบอร์ CFB A1002 มีทับทิม33เม็ดมีพลังงานสำรองลานนาน55ชั่วโมง มีรุ่นตัวเรือนทองโรสโกลด์18กะรัต พร้อมสายหนังลูกวัวให้เลือกได้อีกด้วย

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

BREITLING CALIBRE B01



ทุกสิ่งเปลี่ยนไปเมื่อเราหันมาทาง Breitling สิ่งแรกเลยที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดก็คือราคาของนาฬิกา Chronomat ที่ใช้เปิดตัวเครื่องรุ่น B01 เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นใดก็มีสนนราคาราวสองเท่าของนาฬิกา Carrera Calibre 1887 อยู่แล้ว แนวทางนี้จะช่วยให้ Breitling ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อจำกัดทางราคาเหมือนอย่าง TAG Heuer




แถม Breitling ยังใจดีส่งเครื่องรุ่นใหม่นี้มาให้ Roberts เพื่อการตรวจสอบด้วย " นี่เป็นเครื่องอินเฮ้าส์รุ่นแรกของ Breitling อย่างแท้จริง ทาง Breitling ได้เลือกแนวทางในการพัฒนาที่แตกต่างไปจาก TAG Heuer โดยดีไซน์เนอร์ของเขาน่าจะเริ่มกระบวนการพัฒนาเครื่องรุ่นนี้ก่อน TAG Heuer เล็กน้อย จากตัวเลขที่ผมมีก็น่าจะเป็นปี 2004 ซึ่งก็อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าบรรยากาศเศรษฐกิจโลกและวงการนาฬิกาโลกยังคงดีอยู่ " Breitling เสร็จสิ้นการออกแบบในราวปี 2007 ทำให้เริ่มผลิตได้ในปี 2008 และเปิดตัวสู่สาธารณชนได้ในปี 2009 ในที่สุด



" มองย้อนหลังกลับไปเมื่อปี 1969 Breitling เคยจับมือกับ Heuer และ Hamilton/Buren ผลิตเครื่อง Calibre 11 ซึ่งเป็นเครื่องนาฬิกาจับเวลากลไกอัตโนมัติรุ่นแรกๆ ของโลกมาแล้วเบียดกับเครื่อง Zenith EI Primero และเครื่องนาฬิกาจับเวลากลไกอัตโนมัติรุ่นแรกของ Seiko พอดี ในครั้งนั้น Breitling มีส่วนร่วมในการออกแบบเครื่อง Calibre 11 อย่างใกล้ชิดแม้ว่างานหลักในการประดิษฐ์โมดูลจับเวลาจะเป็นหน้าที่ของ Dubois-Depraz ก็ตาม



" เมื่อมองดูเครื่อง Calibre 11 คุณจะเห็นว่าการออกแบบแตกต่างจาก B01 เป็นอย่างมากเพราะ Calibre 11 ใช้ระบบขึ้นลานแบบ Micro Rotor จึงทำให้ตัวบางมากเป็นพิเศษ จากนั้นจึงนำเอาโมดูลจับเวลามาติดเป็นชุดโดยใช้สกรูว์ยึด 3 ตัวจนทำให้ Calibre 11 ออกมาค่อนข้างหนา "
" อีกวิธีการหนึ่งในการพัฒนาเครื่องนาฬิกาจับเวลากลไกอัตโนมัติคือการนำเอากลไกทุกส่วนลงไปประกอบไว้ในตัวเครื่องเลยซึ่งเป็นแนวทางที่ปรากฎใน EI Primero และในเครื่อง B01 ใหม่ของ Breitling ข้อเสียของแนวทางนี้ก็คือ จะเป็นงานหนักสำหรับช่างนาฬิกาเมื่อต้องมีการซ่อมแซมหรือวิเคราะห์หาจุดปัญหา เพราะทุกอย่างจะอยู่ซ้อนกันและพันกันไปหมดจะรื้ออะไรทีหนึ่งก็ต้องถอดชิ้นส่วนออกมาเป็นจำนวนมาก Breitling จึงใช้ความพยายามเพื่อแก้ไขข้อด้อยนี้เป็นพิเศษ "



" ในเครื่อง B01 ใหม่ Breitling เลือกที่จะอินทีเกรทกลไกทั้งหมดเพื่อความบางพร้อมด้วย Column Wheel ที่คนที่รักนาฬิกายังคงชื่นชอบสำหรับควบคุมการทำงานของกลไกจับเวลา"
" สำหรับเราๆ ที่เป็นช่างนาฬิกาก็มีส่วนที่ชอบ Column Wheel เหมือนกัน และการผลิต Column Wheel ในปัจจุบันนี้ก็ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากแล้วด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรมความเที่ยงตรงสูงสมัยใหม่ และ Breitling ก็ใช้ Vertical Ciutch ด้วยสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกลไกบอกเวลาและกลไกจับเวลาแทนที่จะใข้ Oscillating Pinion หรือ Coupling Device เกียร์แบบธรรมดา "
ดังนั้นความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเครื่อง TAG Heuer และ Breitling ก็คือจุดที่ตัวหนึ่งใช้ระบบ Oscillating Pinion และอีกตัวหนึ่งใช้ระบบ Vertical Clutch "Vertical Clutcch เป็นระบบที่นิยมมากในขณะนี้และเป็นระบบที่ดีด้วย แม้ว่าระบบนี้จะไม่ใช่ไอเดียอะไรใหม่แต่ก็สามารถทำงานร่วมกับวัสดุและเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี "



" เมื่อคุณสั่งการทำงานของเครื่อง B01 แล้ว เข็มวินาทีจับเวลา เข็มนาทีจับเวลาและเข็มชั่วโมงจับเวลาจะเริ่มทำงานบนชุดขับเคลื่อนเดียวกัน ตรงนี้เป็นไอเดียที่ดีเพราะว่าทุกเข็มจะทำงานซิ้งค์กันเสมอ ในขณะที่หากเป็นเครื่องจับเวลารุ่นอื่นอีกหลายรุ่นเข็มชั่วโมงจับเวลานั้นจะถูกขับเคลื่อนแยกต่างหากซึ่งก็ไม่ใช่ข้อเสียหนักหนาอะไรเพียงแค่ว่าการขับเคลื่อนด้วยกันแบบนี้จะมีข้อดีมากกว่านิดหน่อย "

นอกจากนี้ Breitling ยังการติดตั้ง Reset Hammer แบบหาจุดศูนย์กลางเองให้กับเครื่อง B01 อีกด้วย " ก็เหมือนกับเป็น Flyback Hammer ในกลไกจับเวลาครับ และจะเป็นประโยชน์มากในกระบวนการผลิต การประกอบและการบำรุงรักษาในภายหลัง นี่เป็นเทรนด์การออกแบบล่าสุดเหมือนที่ใช้โดย Rolex และแบรนด์อื่นๆ สมัยก่อนเวลาจะทำกลไกตีเข็มกลับคืนสู่ศูนย์ช่างนาฬิกามักจะต้องตะไบและขัด Hummer เหล่านี้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความสามรถและเวลาเป็นอย่างยิ่ง แต่ในปัจจุบันนี้ Hummer มีระบบหาจุดศูนย์กลางเองแล้วจึงสามารถคืนตำแหน่งที่เหมาะสมได้โดยธรรมชาติเมื่อมีการกด Reset การผลิตและการซ่อมแซมก็ง่ายตามไปด้วย "



" ระบบอย่างนี้เชื่อถือได้มากครับ เราต้องไม่ลืมก่อนว่านาฬิกาสมัยใหม่ผลิตด้วยเครื่องจักรเป็นหลักและจะมีการประกอบด้วยมือต่อเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น นั่นหมายความว่านอกจากระบบนี้จะสะดวกสำหรับช่างนาฬิกาแล้วยังทำให้การประกอบนาฬิกาจำนวนมากมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีต้นทุนต่ำลงด้วย "
ในส่วนของการ Regulate นาฬิกานั้น Breitling ได้เลือกใช้ระบบปรับตั้งแบบ Fine Index " มองดูเวลาอยู่บนเครื่องก็พื้นๆ ไม่มีอะไรแต่นาฬิกาเดินตรงมากถึงมากที่สุดครับ ทีนี้ถ้าคุณไปปรับ Micro Adjuster ค่าที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตาม Index "



" ปกติแล้วถ้าคุณต้องการจะปรับตั้งให้ละเอียดขนาดนี้ก็ต้องใช้ระบบ Free Sprung ซึ่งเป็นการน้ำหนักที่ทิ้งลงบน Balance Wheel จริงๆ เมื่อคุณปรับ Index ในนาฬิกาทั่วไปที่ใช้ระบบ Curb Pin ทั้งหมดอะไรๆ มันก็พลาดได้ดังนั้น นั่นคือสาเหตุว่าทำไมคุณต้องใช้ Timing Machine ประกอบการปรับตั้งจึงจะเที่ยงตรง แต่ระบบ Index แบบใหม่ของ Breitling นี้ช่วยให้ช่างสามารถปรับเรทให้เร็วหรือช้าได้เป็นจำนวนวินาทีต่อวันเป๊ะๆ นี่คือพัฒนาการอีกระดับหนึ่งและผลความเที่ยงตรงที่ได้ก็น่าทึ่งทีเดียวเราคงจะต้องมาดูกันต่อว่าความเที่ยงตรงในระยะยาวจะเป็นอย่างไรเมื่อนาฬิกาที่ขายไปเริ่มต้องมีส่งกลับเข้ามาบำรุงรักษาบ้าง "
กำลังลานสำรองของเครื่อง B01 สอดคล้องกับความนิยมและความต้องการในปัจจุบันที่ 70 ชั่วโมง " เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็อยากได้นาฬิกาที่จะเดินได้ไม่มีหยุดเดินเมื่อถอดทิ้งไว้ทั้งสุดสัปดาห์ เครื่องรุ่นนี้จะเดินต่อไปได้นานถึงสามวันเมื่อคุุณถอดนาฬิกาวางไว้ และที่สำคัญก็คือในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนั้นลานที่ได้ก็จะมาจากช่วงบนๆ ของกำลังลานทำให้แรงบิดที่ส่งออกมานิ่งยิ่งกว่า สรุปคือคุณได้ประโยชน์สองแบบจากการที่นาฬิกาไม่หยุดเดินเร็วและเดินเที่ยงตรงกว่าด้วย "



อีกหนึ่งรายละเอียดแห่งความใส่ใจของ Breitling ก็คือการออกแบบเครื่องให้ช่างสามารถเข้าถึงกระปุกลานได้โดยไม่ต้องรื้อชิ้นส่วนไปครึ่งหนึ่งของเครื่องก่อน ทำให้การเปลี่ยน Mail Spring ทำให้สะดวกกว่าเดิมมาก และเพื่อความสมราคาเครื่อง B01 นี้จึงได้รับการขัดแต่งเต็มที่ด้วยลวดลาย Cotes de Geneve ลายก้นหอย ลายจุด พร้อมลบเหลี่ยมมุมและอื่นๆ อีกสารพัด "
" สิ่งที่ได้ก็คือเครื่องนาฬิกาที่มีความประณีตมากๆ แต่ก็มีต้นทุนในการผลิตสูงกว่า TAG Heuer มากด้วย เรียกได้ว่าเกือบจะทะลุเข้าไปในกลุ่มไฮเอนด์อยู่แล้ว แต่ในขณะนี้ยังมีการใช้เพียงในรุ่น Chronomat เท่านั้น "
" ที่พูดนี่ไม่ใช่ว่าเครื่องใหม่ของ TAG Heuer หรือ Breitling นี้จะมีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐาน Patek Philippe หรอกนะครับ เพราะในระดับราคาเท่านี้ไม่จำเป็นต้องขัดแต่งให้ดีขนาดนั้น แค่เท่าที่เห็นนี้ก็ดูดีมากๆ สำหรับผมมองว่า Breitling มีการขัดแต่งที่ดีเยี่ยมสมราคาและ TAG Heuer ก็ดีไม่แพ้กันสำหรับระดับราคาของเขาเองครับ "‏

สนใจบทความนาฬิกาดีๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
QP-DEVOTED TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue Thirty December 2021

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

VULCAIN

Cricket X-Treme Automaticque Air Force 1 “Al back”



คอลเลคชั่นนาฬิกาใหม่จากแบรนด์ Vulcain กับนาฬิการุ่น Cricket X-Treme Automaticque Air Force 1 “Al back”นอกจากบรรจุกลไกไว้ด้วยอัตโนมัติ Cricket Calibre V-21 อันเป็นกลไกประสิทธิภาพสูงที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้ว นาฬิการุ่นนี้ยังมาในตัวเรือนไทเทเนียม แสดงออกถึงความแกร่งด้วยโทนสีดำตลอดทั้งตัวเรือน หน้าปัดและสายนาฬิกา ผลิตในจำนวนจำกัดเพียง300เรือนเท่านั้น ตัวเรือนผลิตจากไทเทเนียมและสตีลสีดำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง44มิลลิเมตร ปกป้องหน้าปัดไว้ด้วยกระจก



ภายในบรรจุกลไกไขลานอัตโนมัติ คาลิเบอร์ Cricket V-21 มาพร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน ทั้งการแสดงเวลาเป็นชั่วโมง นาที วินาทีกลางหน้าปัด ระบบปลุกอะลาร์ม หน้าต่างวันที่ ขอบตัวเรือนหมุนได้มีตัวเลขแสดงเวลาเป็นนาที กันน้ำได้ลึกถึง100เมตร มาพร้อมสายยางสีดำเพิ่มความสปอร์ตเต็มพิกัด

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

Sector Shark Master 1000 Meter






นาฬิการุ่น Shark Master 1000 Meters ล่าสุดจากแบรนด์Sector นอกจากจะผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์สปอร์ตสุดขั้วแล้ว ยังเป็นนาฬิกาที่ผลิตขึ้นเพื่ออุทิศให้กับนักดำน้ำชาวบัลแกเรี่ยน Patrick Musimu และโลกใต้ทะลลึกอีกด้วย ตัวเรือนผลิตจากสตีลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง46มิลิเมตร พื้นหน้าปัดเล่นลวดลายคลื่นทะเล ปกป้องหน้าปัดด้วยกระจกคริสตัลแซฟไฟร์ ฝาหลังและเม็ดมะยมแบบขันเกลียว มีเม็ดมะยมพิเศษเพิ่มขึ้นอีก1เม็ดเพื่อการปรับต้องขอบตัวเรือนด้านใน มีฮีเลียมวาล์วนิรภัย สามารถกันน้ำถึง1000เมตร กลไกภายในเป็นกลไกอัตโนมัติ ETA 2824 สวิสเมด มาพร้อมสายนาฬิกายางสีดำ นาฬิกาบรรจุมาในกล่องอย่างดีพร้อมอุปกรณ์เพื่อการดำน้ำโดยเฉพาะ




ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Watch World & Jewellrey


วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

VACHERON CONSTINTIN

Historique Aronde 1954



ความงามยุคคลาสิกได้ถูกนำมาสร้างสรรค์อีกครั้งเพื่อสนองกระแส Retro ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ Vacheron Constantin พาย้อนอดีตด้วยเรือนเวลาคอลเลคชั่นล่าสุHistorique Aronde 1954 นาฬิกาที่ถ่ายทอดรูปแบบอันน่าพิสมัยในยุค 50 ซึ่งยังคงเป็นดีไซน์อมตะมาจนปัจจุบัน ผ่านตัวเรือนทองชมฟู18K ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด31.2 x 44.5มิลลิเมตร



ทอดโค้งรับแนวข้อมือพอดิบพอดี ด้านข้างตัวเรือนออกแบบโดยได้แรงบันดาลใจจากปีกของนกนางแอ่น อันเป็นที่มาของชื่อ Aronde ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณหมายถึงปีกนกนางแอ่น ความหรูหราล้ำค่าที่กันน้ำได้ลึก30เมตรนี้จับคู่กับพื้นหน้าปัดสีเงินที่ได้รับการสลักลวดลายอย่างปราณีตเก๋ไก๋ด้วยมือตามแบบเทคนิค แสดงเวลาแบบ2เข็มครึ่งอย่างเรียบง่าย



โดยผลิตเข็มชี้และมาร์คเกอร์จากทองชมพู18K สมบูรณ์แบบด้วยจิตวิญญาณแห่งอารมณ์วินเทจด้วยการทำงานของกลไกไขลาน Cal.1400 AS ซึ่งเป็นชุดจักรกลแบบin houseติดตั้งทับทิมก้นสึกหรอ20เม็ด เดินด้วยความถี่28800ครั้ง/ชั่วโมง สำรองพลังงานได้นาน40ชั่วโมง ประกอบกับสายหนังจระเข้แสนคลาสสิก

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

Oris Big Crown X1 Calculator


14 ตุลาคม 2490 เครื่องบิน แบบความเร็วเหนือเสียง Bell X1 ได้ถือกำเนิดขึ้น

กลุ่มนักบิน Bell X1ได้สร้างปฎิบัติการอันเหลือเชื่อ ก่อนยุคของคอมพิวเตอร์และเครื่องคำนวนที่ทันสมัยในปัจจุบัน ด้วยเครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่ใช้ในการคำนวณ 'Slide Rule' ซึ่งออกแบบเป็นพิเศษสำหรับการคำนวนทางวิศวกรรม ซึ่งโอรีสได้นำตารางคำนวณ 'Slisd Rule' แบบวงกลมนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนาฬิการุ่นพิเศษ "Big Crown X1 Calculator" รุ่นนี้ ตัวเรือนเคลือบ PVD ด้วยสีโลหะที่ใช้ทำปืน เพื่อสะท้อนถึงสีของตัวเครื่อง Bell X1 กระจกหน้าปัดแซฟไฟร์ทรงโดมเคลือบสารกันแสงสะท้อนทั้งด้านในและด้านนอก ขอบหน้าปัดด้านนอกบนตัวเรือนแบบหมุนได้เพื่อใช้อ่านค่าตามตาราง "Slide Rule"ที่ขอบหน้าปัดด้านในฝาหลังแบบขันเกลียวทำด้วยกระจกแบบมิเนอรัล คริสตัล ( Mineral Crystal )



พร้อมตารางสำหรับอ่านมาตรวัดแบบระบบเมตริก และระบบอังกฤษ เม็ดมะยมแบบขันเกลียว กันน้ำ 30 เมตร ตัวเลขบนหน้าปัดเคลือบสารเรืองแสง SuperLumiNova ระบบจักรกลโครโนกราฟ อัตโนมัติมีเข็มวินาทีย่อย และเข็มวินาทีสำหรับจับเวลาที่ตำแหน่งศูนย์กลาง หน้าต่างแสดงแสดงวันที่ที่ตำแหน่ง 4 และ 5 นาฬิกา สายหนังวัวแท้สีน้ำตาลเข้มตัดกับขอบสายด้วยการเดิรด้ายสีขาว นอกจากนี้ เพื่อเป็นการให้ความสำคัญต่อชื่อของเครื่องบินลำนี้ จึงได้สลักอักษร 'X' ที่ปุ่มกด Reset ของกลไกโครโนกราฟ และตัวเลข '1' ที่ปุ่ม Start Stop นอกเหนือจากการรังสรรค์เครื่องบอกเวลาเพื่อร่วมรำลึกถึงความสำคัญ และหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การบินแล้ว โอริส "บิ๊กคราวน์ เอ็กซ์วัน แคลคูเลเตอร์" (Oris Big Crown X1 Calculator) ยังได้ผสานรูปแบบที่ลงตัวและฟังก์ชั่นที่จำเป็นพร้อมตอบรับการใช้งานของนักบิน ตอกย้ำความเป็นผู้เชี่ยวชาญ และผู้นำด้านการผลิตนาฬิกาสำหรับนักบินอย่างแท้จริง



ตัวกล่องบรรจุด้วยตารางคำนาณ "Slide Rule" บนตัวกล่องด้านนอก ภายในประกอบด้วย ใบประกาศนียบัตรแลัรายละเอียดของนาฬิกา พร้อมทั้งแผ่น DVD ภาพยนตร์เรื่อง 'The Right Stuff' กำกับการแสดงโดยฟิลิป คอฟแมน (Philip Kaufmann) เนื้อหาเกี่ยวกับการบินด้วยความเร็วแบบทะลุกำแพงเสียง



ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Watch World & Jewellrey


วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

PORSCHE DESIGN‏ Eritage P6530



แวบแรกที่ได้เห็นนาฬิกาเรือนนี้ หลายคนรู้สึกได้ถึงความ 'Retro' ที่มีพลังอย่างล้นเหลือ รูปแบบอันเปี่ยมเสน่ห์จากยุค '70 ได้กลับมาสร้างความประทับใจให้กับคอนาฬิกายุคปัจจุบัน Heritage P6530 (เฮอร์ริเทจ พี'6530) คอลเลคชั่นดีไซน์เบบี้บูมจาก Porsche Dising (พอร์ช ดีไซน์) เป็นเรือนเวลาที่สร้างสรรค์ตามรูปแบบของนาฬิกาไทเทเนียมยุคแรกๆ




ตัวเรือนและสายผลิตจากไทเทเนียม ดีไซน์อย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในขนาดที่ขยายขึ้นตามสมัยนิยม 44.0 มิลลิเมตร หนา 14.3 มิลลิเมตร พร้อมสลักคำว่า 'Titan' (ไททัน) เป็นเอกลักษณ์บริเวณขาสาย กันน้ำลึก 60 เมตร



สร้างเสน่ห์ในแบบสปอร์ตด้วยพื้นหน้าปัดสีดำสนิท ตกแต่งด้วย 'Tachymeter Scale' (ทาคีมิเตอร์ สเกล) โดดเด่นด้วยเข็มชี้และเครื่องหมายแสดงเวลาเคลือบสารเรืองแสงสีขาว บอกเวลาแบบ 2 เข็มครึ่งพร้อมฟังก์ชั่นจับเวลา รวมถึงการแสดงวันและวันที่



ควบคุมการทำงานด้วยกลไกออโตเมติกโครโนกราฟ Cal.Valjoux 7750 ติดตั้งทับทิมกันสึกหรอ 25 เม็ด เดินด้วยความถี่ 28,800 ครั้ง/ชั่วโมง สำรองพลังงานสูงสุด 48 ชั่วโมง ผลิตจำนวนจำกัด 911 เรือน โดยสลัดหมายเลขประจำเรือนไว้บนฝาหลัง



หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ Watch World-Wide

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

JAEGER-LECOULTRE Memovox Tribute To Deep Sea

JAEGER-LECOULTRE

Memovox Tribute

To Deep Sea

นาฬิการุ่น Memovox Deep Seaคือนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำเรือนแรกที่ JAEGER-LECOULTREสร้างและผลิตขึ้น นำเสนอเป็นครั้งแรกในปี2008ด้วยนาฬิกาสองรุ่นคือ Memovox Tribute to Polaris 1965และ Memovox Tribute to Polaris 1968ต่อมาได้นำเสนอเป็นรุ่นRe-edition of the 1959 Memovox Deep Seaเรียกสั้นๆว่าMemovox Deep Sea



นาฬิกา Memovox Tribute To Deep Seaคือรูปจำลองของนาฬิกาเรือนแรกสร้างตัวเรือนจากสเตนเลสสตีล แต่ขยายสัดส่วนจาก39.8มิลิเมตร เป็น40.5มิลลิเมตร เพื่อให้เข้ากับความนิยมในนาฬิกาเรือนใหญ่ ฝาหลังมีรูปมนุษย์กบที่รายล้อมไปด้วยฟองอากาศ นาฬิการุ่นนี้สร้างขึ้นสองรูปแบบคือ รุ่นEuropean Modelที่มีหน้าปัดสีดำด้าน พร้อมขีดเครื่องหมายบอกเวลาเรืองแสงได้ อีกรุ่นคือAmerican Modelมีหน้าปัดสองสีคือสีดำและสีเทาล้อมรอบด้วย วงแหวนรอบนอก พร้อมสเกลเป็นช่วงๆ ช่วงละ5นาที ทั้งสองรุ่นมาพร้อมฟังก์ชั่นเหมือนกันคือ บอกชั่วโมง นาที บอกวินาทีกลางหน้าปัดและระบบปลุกอะลาร์ม เม็ดมะยมที่ตำแหน่ง2นาฬิกา ใช้ไขลานและตั้งเวลาปลุก ส่วนเม็ดมะยมที่ตำแหน่ง4นาฬิกาใช้ไขลานการทำงานของกลไกและตั้งเวลา นาฬิกาทั้งสองรุ่นใช้กลไก Memovox คาลิเบอร์ 456เป็นกลไกไขลานอัตโนมัติ เดินด้วยความถี่28800ครั้งต่อชั่วโมง มีพลังงานสำรองลานนาน45ชั่วโมง

นาฬิการุ่นMemovox Deep Seaเป็นนาฬิกาดำน้ำเรือนแรกของโลกที่มีระบบเตือนให้นักดำน้ำรู้ถึงเวลาที่จะต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ สร้างขึ้นในแบบจำนวนจำกัดสองรุ่นคือ959เรือน สร้างเหมือนนาฬิกาJAEGER-LECOULTREรุ่นClassique 1959สำหรับตลาดยุโรปและอีก359เรือนรุ่นSpecial Amerique 1959กระจกหน้าปัดทั้งสองรุ่นทำจากPlexiglassเหมือนนาฬิการุ่นดั้งเดิม




ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Watch
World & Jewellrey


วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

RICHARD MILLE RM003-V2 ALL GRAY

RICHARD MILLE
RM003-V2 ALL GRAY



นาฬิกาข้อมือตัวเรือนทำจากคาร์บอนนาโนไฟเบอร์และไทเทเนียมหลอมพิเศษบรรจุด้วยกลไกไขลานทูร์บิญอง แสดงชั่วโมง นาที และบอกเวลาไทม์โซนที่2จับคู่สายยางสไตล์สปอร์ต ผลิตจำนวนจำกัด30เรือน
เครื่อง RM003 จำนวนทับทิม 23 เม็ด สำรองพลังงานสูงสุดนาน 70 ชั่วโมง กันน้ำ 50m กระจกแซฟไฟร์



Seiko Monster Diver’s 200M Automatic



นาฬิกาข้อมือ ไซโก้เป็นนาฬิกาที่อยู่คู่คนไทยมานาน นักสะสมไม่น้อยที่เริ่มจากยี่ห้อนี้
เนื่องจาก มีความทนทาน คุณภาพใช้ได้ และที่สำคัญราคาไม่แพงในรุ่นธรรมดาทั่วไป
ส่วนในรุ่นเทพ ราคาจะสูงแต่เมื่อเทียบกับนาฬิกาข้อมือในระดับเดียวกันก็ถือว่าไม่แพงครับ
จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมนาฬิกาไซโก้จึงครองใจแฟนๆ มาจนถึงประจุบัน



วันี้มี Seiko Monster ตัวสุดฮิตอีกรุ่นนึงที่แฟนๆไซโก้บ้านเรานิยมกันพอสมควร
คือ SKX779K1 และ SKX781K1 สองตัวนี้ต่างกันที่สีหน้าปัดครับ นอกนั้นหมือนกันครับ

SKX779K1




เม็ดมะยม ล๊อคแบบเกลียว
เครื่องระบบ ออโตเมติก 7S26
ขนาดตัวเรือน 44 มม. หนา 13 มม.
กันน้ำ 200 เมตร
กรอบหน้าหมุนได้ ทิศทางเดียว



ระบบการล๊อค สาย แบบล๊อค 2 ชั้น



ฝาหลังแบบเกลียว




SKX781K1








จริงหรือไม่ที่ว่านาฬิกานั้นเป็นแค่เครื่องบอกเวลาหรือเครื่องประดับ

 ก่อนที่ทุก ๆ ท่านจะอ่านบทความนี้ ผมมีคำถามเล็ก ๆ สำหรับทุก ๆ คน โดยขอท่านตั้งคำถามสำหรับตัวท่านในใจว่า นาฬิกาที่อยู่บนข้อมือของท่านที่...