วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

EPOS GMT Limited Edition




นาฬิกาข้อมือเครื่องออโตเมติก 2เครื่องในเรือนเดียวกัน สามารถแสดงวันที่และเวลาต่างประเทศได้ พร้อมเข็มแสดง กลางวัน-กลางคืน โดยทั้งสองระบบมีการทำงานที่แยกออกจากกันดดยสิ้นเชิง ทำให้สะดวกในการใช้งาน ตัวเรือนสแตนเลสสตีลขนาด 40 x 47 mm สายหนังแท้สีดำ กันน้ำ 50m เครื่อง ETA 2671



Movement: Two independent ETA 2671 automatic movements, one with an Epos module for the reversed 24-hour indicator with date
Functions : Hours, minutes, date, second time zone

Rado Ceramica Platinum



นาฬิกา
ดีไซน์คลาสสิคสุดหรูอีกตัวนึงจาก Rado แกร่งด้วยตัวเรือน และสายเซรามิคและ กระจกแซฟไฟร์ สี Platinum กลไก Quartz ใช้ถ่านเป็นพลังงาน หน้าปัดประดับเพชร144เม็ด น้ำหนักรวม 2.212 กะรัตขนาดประมาณ 36mm x 35mm

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

MAURICE LACROIX

MAURICE LACROIX
Masterpiece Double Retrograde limited Edition



นาฬิกาข้อมือ ตัวเรือนเป็น pink gold 18K กระจกแซฟไฟร์คริสตัลรูปโดมป้องกันการขีดข่วนพร้อมกันสะท้อน ฝาหลังขันเกลียวพร้อมกระจกแซฟไฟร์คริสตัลที่ฝาหลังกันสะท้อน ป้องกันนำ้ที่ระดับความดัน 50 เมตร ความกว้างของตัวเรือน 46 มม. ทำจากเงินบริสุทธิ์ 925 เป็นสีเงิน ขีดบอกเวลาตกแต่งด้วย pink gold 18K 750 เข็ม ผลิตจำนวนจำกัดทั่วโลกเพียง 250 เรือนของประเทศไทยมีเลขพิเศษคือ 99/250 นับเป็นนาฬิกาที่น่าเก็บสะสมอีกหนึ่งเรือน

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Patek Philippe



Patek Philippe
เป็นแบรนด์หนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันว่ามีกลไก Chronograph ที่ดีที่สุดแบรนด์หนึ่งและนักสะสมก็ให้ความไว้วางใจในกลไกฟังก์ชั่นนี้จาก Patek Philippe มาโดยตลอด

Patek Philippe เริ่มมีฟังก์ชั่น Chronograph ในนาฬิกาข้อมือมาตั้งแต่ปี 1924 โดยใช้พื้นฐานกลไกจาก Victorin Piguet ที่มีกลไก Cronograph แบบ Mono Pusher และกลไก Cronograph แบบอื่นๆ อีกหลายแบบ จนมาถึงยุคที่เริ่มใช้กลไกจาก Valjoux ในปี 1932 และใช้มาเป็นเวลานาน รุ่นหนึ่งที่นักสะสมคุ้นเคยกันดีก็คือ Reference 130 ซึ่งโด่งดังมากด้วยชุดวงจับเวลาที่คุ้นตากันดี คือวงบอกชั่วโมงกับวงบอกนาทีอยู่ทางซ้ายและทางขวาเหมือนกับ Reference 5070 ในยุคของ Valjoux นั้น Patek Philippe มีการปรับปรุงกลไก Cronograph อย่างมากมายรวมถึงใส่ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมลงไปด้วยเช่น Perpetual Calender ใน Reference 1518 หรือ Reference 2499 เองก็ใช้พื้นฐานมาจากกลไกของ Valjoux เช่นกันโดยมีจุดสังเกตง่ายๆ ของกลไก Cronograph ทั้งสองนั่นก็คือ ถ้าเป็นกลไกจาก Valjoux ก็จะมีแกนของ Wheel เป็นทรงก้ามปู และถ้าเป็นกลไกจาก Victorin Piguet ก็จะไม่มีแกน Wheel รูปทรงนี้


Caliber CH28-520


Caliber CH29-535 PS

กลไกต่อมาก็คือ Nouvelle Lemania ในปี 1986 โดยทาง patek Philippe ให้ชื่อว่า Calibre CH 27-70 ซึ่งยังคงแขนของ Wheel เป็นทรงก้ามปูอยู่เช่นเดิม ในจุดนี้ถ้าดูให้ดีจะรู้ว่ากลไกจาก Vajoux และกลไกจาก Nouvelle Lemania เป็นชุดกลไกเดียวกัน เนื่องจากในยุคนั้น Vajoux และ Lemania เป็นโรงงานผลิตกลไกจากแหล่งเดียวกัน
สำหรับ nouvelle Lemania ทาง Patek Philippe จะสั่งผลิตแบบพิเศษจากโรงงานเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้จากแคตตาล็อกของ Patek Philippe ที่จะระบุเป็นพิเศษสำหรับนาฬิการุ่นที่ใช้กลไกจาก Nouvelle Lemania ว่า Exclusively made for Patek Philippe และขั้นตอนการประกอบรวมทั้งการตกแต่งขั้นสุดท้ายจะทำโดยทาง Patek Philippe เองโดยนำกลไกนั้นๆ ที่สั่งพิเศษ มาประกอบและตกแต่งตามมาตรฐานของ Patek Philippe อีกครั้ง โดยกลไกจาก Nouvelle Lemania ของ Patek Philippe จะมีทั้ง Cronograoh เปล่าๆ ที่จับเวลาแบบ 30 นาที เช่น Reference 5070 หรือจะเป็นการนำชุด Module มาวางเพิ่มเติมสำหรับฟังก์ชั่น Perpetual Calendar อย่างเช่นใน Reference 3970 ซึ่งต่อมาก็จะมีใน Reference 5970 ซึ่งจะเป็นกลไกชุดเดียวกัน



Patek Philippe ใช้กลไกจาก Nouvelle Lemania นี้จึงถือเป็นกลไก Chronograph แบบดั้งเดิมแนวอนุรักษ์นิยมที่ใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีหลายสิ่งซึ่งบ่งบอกได้ถึงความนิยมในกลไกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ่มกดจับเวลาที่นุ่มนวลมาก
อย่างไรก็ตาม แม้กลกลไก Chronograph ของ Patek Philippe จะได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็น Reference 3970, 5070, 5970 หรือ 5004 แต่นโยบายจาก Nouvelle Lemania ที่ไม่สามารถผลิตกลไกป้อนให้กับทาง Patek Philippe ได้อีกต่อไปทำให้ Patek Philippe ต้องพัฒนาและผลิตกลไก Chronograph เป็นของตัวเอง



กลไก Chronograph ของ Patek Philippe ชุดแรกจึงออกสู่ตลาดโดยเป็นกลไกของนาฬิกา Chronograph หน้าตาทันสมัยรุ่น Reference 5960P กับกลไก Calibre CH 28-520 IRM QA 24H และต่อมาก็มีใน Reference 5980 แต่สิ่งที่ทำให้บรรดานักสะสมแปลกใจกันมากคือแทนที่ Patek Philippe จะใช้กลไกชุดนี้มาปรับปรุงและใส่ฟังก์ชั่นต่างๆ เพิ่มเติมแต่ปรากฎว่า Patek Philippe ส่งกลไกไขลาน Chronograph รุ่นใหม่ลงสู่ตลาดใน Reference 7071สำหรับสภาพสตรีเป็นครั้งแรก!



หลังจากนั้น Baselworld 2010 ก็นำกลไก Calibre CH29-535 PS ชุดนี้มาใส่ในรุ่นสำหรับสุภาพบุรุษกับ Reference 5170J โดยกลไกชุดนี้ออกแบบได้อย่างแยบยลและสวยมาก น่าภูมิใจสำหรับระยะเวลาการทำงานและการคิดค้นของ Patek Philippe เพราะถือเป็นการผลิตกลไกอินเฮ้าส์แบบ Chronograph ในสองรูปแบบทั้งอัตโนมัติและไขลานซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของ Patek Philippe เนื่องจากในระยะเวลาที่ผ่านมา Patek Philippe จะเลือกใช้กลไกจากภายนอกมากกว่า
ตอนนี้บรรดานักสะสมจึงตั้งตาคอยกลไกที่มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมขึ้นอย่างเช่น Spilt Second ที่น่าจะมีการนำมาใส่ในกลไกอินเฮ้าส์แน่นอน และจะทำให้กลไก Chronograph อินเฮ้าส์ของ Patek Philippe ครบในทุกไลน์อย่างแท้จริง

เครดิตบทความจากหนังสือ QP-DEVOTED TO FINE WATCHES Thai Edition



วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Bulbari Octo Quadri-Retro Chronograph

Bulbari Octo Quadri-Retro Chronograph





สิ่งที่ผมชอบเป็นพิเศษสำหรับรุ่นนี้คือการออกแบบตัวเรือนเป็นรูปแปดเหลี่ยม เพราะในความเชื่อของคนจีนนั้น เลขแปด ถือเป็นเลขนำโชค อีกทั้งตัวเรือนยังมีลักษณะเหมือนยันต์แปดทิศ ที่เชื่อว่าจะนำโชคลาภ และความสุขมาให้แก่ผู้ที่ครอบครอง เมื่อผนวกกับกลไกที่ซับซ้อน ทำให้นาฬิกาเรือนนี้ดูโด่ดเด่นน่าสนใจ
ตัวเรือนทองชมพู(Pink Gold)ขนาด45มิลลิเมตร ประกอบกันเปย็นชั้นๆที่รูปทรงต่างๆกัน ทำให้ตัวเรือนดูมีมิติที่สวยงามฝาหลังทำเป็นรูปแปดเหลี่ยมและเจาะช่องโชว์กลไกผ่านCrystal Sapphireเม็ดมะยมทรงกลมประดับด้วยOnyxและมีปุ่มเล็กๆ8ปุ่มรอบเม็ดมะยมให้เข้ากับคอนเซ็ปต์ของนาฬิกา มาพรัอมกับสายหนังจระเข้สีดำและบานพับ Deployant ทองชมพู
หน้าปัดลงยาแบบCloisonneสีดำ สลับกับวงสีขาวและสีทองชมพู บอกเวลาโดยระบบJumping Hourด้วยตัวเลขขนาดใหญ่ และบอกนาทีด้วยระบบRetrogradeวงจับเวลาระบบRetrogradeรูปครึ่งวงกลมอยู่ที่ตำแหน่ง3และ9นาฬิกา และวงแสดงวันที่ที่ตำแหน่ง6นาฬิกาด้วยระบบRetrogradeเช่นกัน กลไกของนาฬิกา เป็นแบบอัตโนมัติ ทำงานที่ความถี่21,600VPHและมีพลังงานสำรอง38ชั่วโมง
ความปราณีตในการขัดแต่งตัวเรือนและกลไกอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผมชอบที่Bulgariเลือกใช้การขัดตัวเรือนแบบด้าน ทำให้ไม่ต้องกลัวว่าเกิดรอยขนแมวเวลาใส่เสื้อแขนยาว การทำงานของกลไกราบรื่นดีครับ ระบบจับเวลาทำงานได้ดีไม่มีติดขัด การอ่านค่าต่างๆอาจจะต้องใช้ความพยายามมากกว่านาฬิกาข้อมือธรรมดาทั่วไปแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใด หากท่านต้องการนาฬิกาสักเรือน ซึ่งไม่เป็นแต่เพียงเครื่องบอกเวลาและบอกรสนิยมของผู้สวมใส่หากแต่ยังเป็นเหมือนสิ่งที่เสริมความมั่นใจให้กับคุณด้วยศาสตร์ของจีนโบราณที่เกี่ยวของจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเลข8และยันต์แปดทิศนาฬิกาเรือนนี้แหละครับคือคำตอบ

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Harry Winston

Harry Winston Histoire de Tourbillon1



สุดยอดนวัตกรรมที่โดดเด่นด้วยกลไกไขลานด้วยมือ มาพร้อมกรงทูร์บิญองค์คู่ ที่ตำแหน่ง2และ10นาฟิกา ตัวรือนทำจากทองคำขาวและซาเลียม ผลิตจำนวนจำกัดเพียง20เรือน

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

THE MASTERPIECE JAEGER – LECOULTRE

JAEGER – LECOULTRE

The Parure Extraordinaire Le Lierre


คอลเลคชั่นระดับมาสเตอร์พีซประกอบด้วยนาฬิการูปทรงกำไล สร้อยคอ ต่างหู และแหวน วิจิตรด้วยอัญมณีล้ำค่ากว่า12,000เม็ด น้ำหนักรวม160กะรัตทำงานด้วยกลไกไขลานด้วยมือ

จริงหรือไม่ที่ว่านาฬิกานั้นเป็นแค่เครื่องบอกเวลาหรือเครื่องประดับ

 ก่อนที่ทุก ๆ ท่านจะอ่านบทความนี้ ผมมีคำถามเล็ก ๆ สำหรับทุก ๆ คน โดยขอท่านตั้งคำถามสำหรับตัวท่านในใจว่า นาฬิกาที่อยู่บนข้อมือของท่านที่...