วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

Seiko Monster กำเนิดแห่งปีศาจท้องทะเลตอนที่ 1


กำเนิดแห่งปีศาจท้องทะเล

ไซโก้ ผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำจากแดนอาทิตย์อุทัยที่มียอดการผลิตนาฬิกาในแต่ละปีนับสิบล้านเรือนและในทุกๆก็มีรุ่นใหม่ๆออกมาเขย่าตลาดเสมอ ไม่ว่าจะยากดีมีจน เด็กหรือคนแก่ต่างก็เข้าใจกันว่า Seiko คือนาฬิกาแบรนด์จากญี่ปุ่นที่ดีและราคาไม่แพง ตัว ไซโก้ เองก็มีนาฬิกามากมายหลายรุ่นที่เหมาะกับการทำกิจกรรมต่างๆไม่เว้นแต่นาฬิกาข้อมือในกลุ่ม Driver ที่เหมาะสำหรับนักดำน้ำที่ต้องการความสมบุกสมบันในราคาไม่แพงและเชื่อถือได้ ฟังดูใครๆก็ทำอย่าง Seiko ได้ แต่ถ้าคิดให้ดีๆว่า บริษัทที่ผลิตนาฬิกาในแต่ปีละหลายสิบล้านเรือนจะผลิตนาฬิกา Driver คุณภาพดีๆ เชื่อถือได้ในราคาหลักพันหลักหมื่นที่ทำงานด้วยกลไกได้ดีแล้วละก็ บอกเลยว่าในโลกนี้หาใครที่จะเทียบเคียงเท่า Seiko คงไม่มีอีกแล้ว และในปัจจุบัน Seiko ก็ยังคงแนวทางนั้นอยู่เหมือนเดิมทุกประการ



 เข้าเรื่องกับเจ้า Monster ตามที่จั่วหน้าไว้ตามหัว เรื่องข้างบนบ้าง เรื่องของเรื่องคือ Seiko ได้ผลิตนาฬิกา Driver หรือเรียกง่ายๆว่านาฬิกาดำน้ำออกมามากมายก่ายกอง รุ่นเหล่านั้นก็ขายดีแบบเรื่อยๆเอื่อยๆ แต่เมื่อย้อยกลับไปไม่กี่ปีมานี้ในช่วงราวปี 2000 Seiko ก็ทำให้เราๆชาวไทยได้รู้จักนาฬิกา Driver รุ่นหนึ่งที่เป็นจุดตำนานความโด่งดังไปทั่วประเทศไทยและทั่วโลกคือ Seiko Monster นั่นเองและก็ต้องยอมรับอย่างภูมิใจว่ารุ่นนาฬิกา Seiko นั้นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทยและโด่งดังจนเข้าใจและเรียกกันไปไกลทั่วโลกแถม Seikoเองก็ชอบชื่อนี้เสียด้วย ทำให้การแนะนำนาฬิกาในซีรีย์นี้ถูกเรียกขานในชื่อ Monster ไปโดยปริยาย การตั้งชื่อเรียก Monster เกิดจากสองบุคคลที่คลุกคลีอยู่ในวงการนาฬิกามาอย่างยาวนานและถ้าใครเล่นเว็บนาฬิกาต่างๆมานานพอแล้วหละก็ คงพอจำได้หรือคุ้นชื่อทั้งสองท่าน เป็นอย่างดีแน่นอน คงแรกก็คือ ทอมมี่ แห่งเว็บไซต์ Siamnaliga.com และคนที่สองคือคุณ Reto Cascellazzi แห่ง Poorman’s watch forum ชาวสวิตที่พำนักอยู่เมืองไทยและหลงใหลนาฬิกาเช่นกันทั้งสองท่านนี้เป็นคนที่คอยเฟ้นหานาฬิกาดีๆ ราคาไม่แพง มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบรรดาเพื่อนๆ และสมาชิกเว็บอยู่เสมอ และเมื่อ Moster ออกขายในปี 2000 ก็ยังไม่ดังเปรี้ยงร้าง มากนัก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเพราะสาเหตุอะไรเหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะ Seiko ในตอนนั้นไม้ได้คิดว่ารุ่นนี้จะเป็นรุ่นเด่นดังเหมือนในทุกวันนี้ก็เป็นได้ แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในปี2002 บุคคลทั้งสองท่านก็ได้นำเจ้า Moster มาพูดคุยกับเพื่อนๆที่รู้จักและตั้งชื่อเล่นๆว่า Monster ด้วยหน้าตารูปลักษณ์เหมือน Sea Monster ที่บึกบึน ใหญ่ หนา หนักเป็นที่สุด แต่ประเด็นที่ส่งต่อความดังก็คือ Seiko ได้ผลิตนาฬิกา Driver คุณภาพดีมากๆเรือนกนึ่งในราคาแค่หลักพัน พร้อมคุณสมบัติมากมายเหมือนนาฬิกาDriver ราคาแพง แถมการผลิตก็อยู่ในระดับที่ดีด้วย พูดตรงๆ นาฬิกาแบนด์สวิตบางแบรนด์อาจจะต้องอายม้วนไปก็ได้ ไม่ว่าจะราคาหรือคุณภาพการผลิตและหลังจานั้นชื่อ Monster ก็ได้จารึกอยู่ในใจนักสะสมมากมายและขยายขจรไกลไปทั่วทั้งโลก Monsterในยุคเริ่มแรกนั้นแบ่งออกเป็น 2 รุ่น ก็คือ รุ่น หน้าปัดสีดำSKX779K1 และหน้าปัดสีส้มสดSKX781K1
SKX779K1


SKX781K1

เครดิต หนังสือ 1PM Magazine
Seiko Monster กำเนิดแห่งปีศาจท้องทะเลตอนที่ 2

กว่าจะมาเป็นสิ่งที่เราเรียกว่านาฬิกา



จากอดีตกาลจวบจนถึงปัจจุบัน  นาฬิกามีบทบาทสำคัญที่สะท้อนความเที่ยงตรงของเวลาให้กับมนุษย์เป็นอย่างมาก  และความเที่ยงตรงแม่นยำของเวลาเกิดขึ้นจากการทำงานของชิ้นส่วนกลไก  ฟันเฟืองและจานจักรต่างๆภายในที่มารวมตัวกันเป็นประดิษฐกรรมบอกเวลาชั้นสูง  ดังที่เราได้เห็นกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนั้น  นอกจะเป็นตัวแทนในฐานะเครื่องบอกเวลาแล้วเรือนบอกเวลาในจินตนาการของหลายท่านที่ชื่นชอบและสะสมอยู่นั้นยังบ่งบอกถึงรสนิยมของผู้ที่สวมใส่ได้เป็นอย่างดีด้วย  แต่เคยสังเกตกันไหมว่า  ทำไมนาฬิกาแต่ละเรือนที่ซื้อหรือสะสมอยู่ถึงได้มีราคาที่แตกต่างกัน  ทั้งที่ดูจากรูปลักษณ์ดีไซน์ภายนอกแล้วก็มีหน้าตาที่ละม้ายคล้าคลึงกัน  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัสดุที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์นาฬิกาแต่ละเรือนนั้นมีหลากหลายชนิด  และแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป  ส่วนนาฬิกาเรือนนั้นประกอบด้วยวัสดุใดบ้าง  และวัสดุเหล่านั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร  ลองไปทำความเข้าใจกันดูเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาใช้ประดิษฐ์นาฬิกา
 ก่อนอื่นมาดูคำศัพท์เฉพาะที่ใข้เรียกในอุตสาหกรรมการประดิษฐ์นาฬิกา  เมื่อเราได้ยินใครสักคนกล่าวถึง "นาฬิกาเรือนทอง" หรือ  "นาฬิกาเรือนเหล็ก"นั่นก็แสดงให้เห็นว่าเขากำลังพูดถึงวัสดุที่นำมาใช้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนนาฬิกา   และการที่เราจะเรียกนาฬิกาเรือนไหนว่าเป็นนาฬิกาเรือนทองนั้นขึ้นอยู่กับว่าตัวเรือนของนาฬิกานั้นๆทำมาจากทองเนื้อแข็งไม่ใช่แค่มีสีทองเหลืองหรือเคลือบด้วยชั้นของทองเท่านั้น


      เป็นที่ทราบกันดีว่าทองคำโดยส่วนใหญ่ที่เห็นๆกันอยู่ทั่วไปนั่นจะมีสีเหลืองทองแต่ในบางครั้งก็พบเห็นทองสีขาวหรือที่เรียกกันว่าทองคำขาว (White Gold) หรือทองคำสีชมพู (บางครั้งก็อาจจะเคยได้ยินบางแบรนด์เรียกว่า Rose Gold  หรือ Red Gold  แตกต่างกันออกไป ) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาผสมผสานเข้ากับทองคำเพื่อทำให้เกิดเป็นอัลลอย์ (Alloy )  หรือโลหะผสมมีสัดส่วนและปริมาณที่แตกต่างกันไปจึงทำให้ทองแต่ละชนิดที่ได้นั้นมีสีเข้มแตกต่างกัน


      ส่วนคำว่า  'กะรัต' หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดี  นั่นคือก็คือเกณฑ์สำหรับวัดค่าความบริสุทธิ์ของทองคำที่มีอยู่ในเนื้อโลหะนั้นๆแต่นาฬิกาเรือนทองโดยส่วนมากแล้วจะทำมาจากทองคำ 18 กะรัตหรือ 18k หมายถึง โลหะนั้นประกอบด้วยเนื้อทองคำบริสุทธิ์ถึง 75%ซึ่งเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปเพราะว่าเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมลงตัวมากที่สุด


     ส่วนนาฬิกาทองคำบางเรือนที่ทำมาจากทองคำ 14 กะรัต ก็หมายถึงโลหะนั่นประกอบด้วยเนื้อทองคำบริสุทธิ์อยู่เพียง 58% และสำหรับค่ากะรัตสูงสุดของทองคำที่จัดว่าเป็นทองเนื้อแท้ที่บริสุทธิ์นั้นก็คือ 24 กะรัตหมายถึงทองคำล้วนไม่มีโลหะอื่นใดผสมผสานอยู่เลยแต่ก็ยังไม่เคยปรากฏว่ามีการนำทองคำ 24 k มาใช้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นตัวเรือนนาฬิกา  ด้วยสาเหตุที่ว่าทองคำบริสุทธิ์นี้มีความอ่อนตัวเกินกว่าจะทำเป็นตัวเรือนหรือสายได้    และตามหลักประมวลกฎหมายแล้วนาฬิกาเรือนทองจะต้องมีการตีตราอยู่บนด้านหลังของตัวเรือนพร้อมบอกค่ากะรัตของทองคำที่ใช้ แต่ถ้าสายของนาฬิกาเป็นแบบที่ไม่สามารถถอดแยกออกจากตัวเรือนได้  อย่างเช่น  นาฬิกาทรงกำไลข้อมือ  ค่ากะรัตก็อาจจะประทับไว้บนกำไลข้อมือนั้นๆได้เช่นกัน

    นาฬิกาเรือนทองนั้นอาจจะมีราคาถูกที่สุดอยู่ที่ประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่โดยส่วนมากแล้วจะมีราคาแพงกว่านี้มาก แน่นอนว่าสำหรับเรือนทอง 18k ย่อมจะมีราคาที่แพงกว่านาฬิกาเรือนทอง 14k และถ้านาฬิกาไหนมีสายซึ่งทำจากทองคำเช่นเดียวกันกับตัวเรือนแล้วละก็คงไม่ต้องสงสัยเลยว่านาฬิกาเรือนนั้นจะมีราคาขึ้นเป็นทวีคูณเพราะมูลค่าของทองนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าควรแก่การสะสมและครอบครองไว้ยิ่งนัก

    ทองชุบ
   นาฬิกาทองชุบ(Gold - Plated Watch)มักจะพบเห็นได้โดยทั่วไปมากกว่านาฬิกาเรือนทอง ตัวเรือนนาฬิกาประเภทนี้จะทำมาจากโลหะที่มีค่าน้อยโดยปกติที่เรามักจะพบเห็นก็คือทองเหลืองหรือเหล็กกล้า ซึ่งจะถูกเคลือบด้วยแผ่นทองคำที่มีความหนาถึง 20ไมครอน แต่โดยส่วนใหญ่ที่เราเคยเห็นกันนั้นจะเคลือบด้วยทองคำหนาประมาณ 10 ไมครอนหรือน้อยกว่านี้แตกต่างกันไป (1 ไมครอนจะมีค่าเท่ากับ 1/1,000 มิลลิเมตร กระบวนการนำโลหะทองคำเหล่านี้มาประยุกต์เรียกว่า การชุบโลหะทองคำด้วยไฟฟ้า(Electroplating) และส่วนใหญ่ทองคำที่นำมาใช้สำหรับชุบนั้นจะนิยมใช้ทองคำที่มีค่าสูงกว่า 18 กะรัต เพราะว่าจะให้เนื้อทองสีเหลืองที่มีความเข้มข้นมากกว่า

    ส่วนนาฬิกาเรือนสีทอง(Gold - Tone Watch )ที่เราพบเห็นกันอยู่ทั่วไปซึ่งมีราคาไม่สูงนักจะมีเนื้อของทองคำเคลือบอยู่บางกว่านาฬิกาทองชุบ(Gold - Plated Watch)และราคาของนาฬิกาทั้งสองชนิดนี้ก็จะมีราคาเริ่มตั้งแต่ต่ำกว่า 50 เหรียญสหรัฐฯ จนถึง 1,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯเลยทีเดียว

   เหล็กกล้า
 เมื่อไม่นานมานี้เอง  เหล็กกล้า(Steet)  ได้กลายเป็นวัสดุที่มีบทบาทสำคัญที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในอุตสาหกรรมการประดิษฐ์นาฬิกา  เนื่องจากความกระแสนิยมตามแฟชั่นที่เปลี่ยนไปทำให้รสนิยมของคนส่วนใหญ่หันมาชื่นชอบโลหะที่มีสีขาวซึ่งจะเห็นได้จากปริมาณยอดขายของทองคำขาวที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและสำหรับเหล็กกล้าที่นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการประดิษฐ์นาฬิกาก็คือสเตนเลสสตีล นั่นหมายความว่าเหล็กกล้านั้นประกอบด้วยธาตุโครเมียม ก่อเป็นรูปร่างขึ้นที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นเกระป้องกันพื้นผิวของโลหะอย่างแท้จริงและยังป้องกันการกัดเซาะที่อาจทำให้เกิดสนิมได้อีกด้วย

    สำหรับนาฬิกาเรือนเหล็กกล้านั้นจะมีราคาเริ่มตั้งแต่ต่ำกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐ์ฯไปจนถึงหลักพันเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี หลายท่านอาจประหลาดใจว่า เหตุใดนาฬิกาที่ทำจากวัสดุราคาถูกเช่นนี้  ถึงได้มีราคาแพงลิบลิ่ว นั่นก็เป็นเพราะว่าวัสดุที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนาฬิกานั้นเป็นเพียงปัจจัยเล็กๆอย่างหนึ่งที่ใช้การกำหนดหรือตั้งราคาของนาฬิกาเรือนนั้นๆสำหรับปัจจัยที่เป็นต้นทุนซึ่งมีบทบาทสำคัญมากกว่าก็คือต้นทุนแรงงานที่ช่างทำนาฬิกาได้อุทิศเวลาของตนให้กับการประดิษฐ์และจำนวนที่ใช้จ่ายไปกับการส่งเสริมการขายนาฬิกาแบรนด์นั้นจนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปยกเว้นนาฬิกาบางประเภทที่ประดับด้วยเพชรหรืออัญมณีล้ำค่าต่างๆอย่างละลานตา
 สำหรับนาฬิกาประเภทนี้จะเรียกกันว่า เครื่องประดับบอกเวลา (Jewelry Watches) ราคาของนาฬิกาประเภทนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่าของวัสดุที่นำมาใช้ผลิตนาฬิกาหรือไม่แตกต่างจากมุลค่าของเพชรพลอยที่นำมาใช้ประดับมากนักและอาจจะเพิ่มค่าแรงในการฝังเพชรและตกแต่งลวดลายต่างๆออกไปอีกขึ้นอยู่กับดีไซน์ของแต่ละเรือน

    นาฬิกาบางชนิดที่เราเห็นว่ามีการนำทองคำบริสุทธิ์มาใช้เป็นส่วนประกอบในการตกแต่งอยู่บนขอบตัวเรือนและสายนั้นจะเรียกกันอย่างง่ายๆว่า  นาฬิกาสองกษัตริย์ (Steel and Gold Watch ) ส่วนนาฬิกาสเตนเลสสตีลสลับคั่นด้วยทองชุบหรือโลหะสีทอง เรียกกันว่า ทู - โทนวอทช์ (Two -Tone - Watch)

 ไทเทเนียม
     โลหะชนิดหนึ่งที่มีสีขาวและยังเป็นโลหะที่มีความแข็งแรงทนทานมากอีกด้วย  ทำให้ในระยะหลังนี้ไทเทเนียมกลายเป็นโลหะที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในอุตสาหกรรมการประดิษฐ์นาฬิกาเช่นกันดังจะเห็นได้จากกระแสความนิยมในตัวโลหะสีขาวและยอดขายของนาฬิกาสปอร์ตที่มีการเจริญเติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะว่าโลหะชนิดนี้เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการผลิตนาฬิกาสปอร์ตเป็นอย่างยิ่ง  วัสดุไทเทเนียมก็ยังมีความแข็งแรง
ทนทานมากกว่าสเตนเลสสตีลทั้งยังสามารถป้องกันการเกิดสนิมซึ่งอาจจะเกิดจากการกัดกร่อนของน้ำเค็ม กระนั้นไทเทเนียมนั้นสามารถเกิดรอยขีดข่วนได้ง่ายจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ผลิตหลายรายต้องนำนาฬิกาไทเทเนียมของเขาไปเคลือบด้วยโลหะที่ใช้สำหรับป้องกันรอยขีดข่วนโดยเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง

    วัสดุชนิดอื่นๆ  (Other Materials)
    นาฬิกาบางชนิดทำมาจากวัสดุอะลูมิเนียมซึ่งก็เป็นโลหะอีกชนิดหนึ่งที่มีสีขาว  น้ำหนักเบาและป้องกันการเกิดสนิมได้ด้วย  ว้สดุที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักสำหรับการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการประดิษฐ์นาฬิกานั้น  ยังมีอีกหลายชนิด อาทิ วัสดุที่มาจากการผสมผสานของ  'ทังสเตนคาร์ไบด์' และ'ไทเทเนียม' ส่งผลให้วัสดุชนิดนี้แข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก และยังเป็นโลหะชนิดต้านทานรอยขีดข่วนได้อีกด้วย
     ไฮ - เทค เซรามิกส์ (HI - Tech Ceramics) เป็นวัสดุที่ถูกใช้เพื่อเป็นเกราะป้องกันความร้อนบนกระสวยอวกาศ แต่ภายหลังได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนาฬิกาด้วยเช่นกันดังจะเห็นได้จากแบรนด์อย่าง ราโด (Rado) ที่นำมาใช้ผลิตเป็นตัวเรือนและสายในผลงานบอกเวลาคอลเลกชั่นดังอย่าง   ซินทรา(Sintra)
   นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายยังได้นำเทคนิคการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันหรือตกแต่งนาฬิกาทองเหลืองหรือนาฬิกาเรือนเหล็กของเขาโดยใช้เทคนิคการเคลือบที่เราเรียกสั้นๆว่า PVD (Physical vapor Depositon)   ซึ่งการเคลือบด้วยทองคำก็สามารถผลิตด้วยกรรมวิธีนี้ได้เช่นเดียวกันเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก นอกเหนือจากกรรมวิธีที่นำโลหะนั้นไปชุบทองด้วยไฟฟ้า (Electroplating)  ดังนั้นการนำวัสดุไทเทเนิยมไนไตรท์ ซึ่งมีความแข็งแรงทนทานสูงก็สามารถนำมาเคลือบ PVD เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนได้เช่นกัน
   คาร์บอนไฟเบอร์ จัดเป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่มีความแข็งแรงและมีน้ำหนักเบาไม่ว่าจะเป็นชนิดที่มีสีดำหรือสีเทาดำอันที่จริงแล้วเป็นผลมาจากการผสมผสานระหว่างคาร์บอนไฟเบอร์และสารประกอบโพลีเมอร์ซึ่งบางครั้งได้มีการนำมาใช้เพื่อทำหน้าปัดและตัวเรือนของนาฬิกา

   ผลึกแก้วใสหรือคริสตัลแซพไฟร์
   สำหรับวัสดุที่นำมาใช้เพื่อทำเป็นกระจกคริสตัลใสป้องกันพื้นหน้าปัดของนาฬิกานั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดนั่นก็คือ กระจกมิเนอรัล ( MINERAL  GLASS )ซึ่งเป็นกระจกที่มีพื่นฐานการผลิตเช่นเดียวกันกับกระจกที่ใช้ทำหน้าต่างดังที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป   วัสดุชนิดที่สองก็คือ อะครีลิก(Acylic)  ซึ่งเป็นพลาสติกใสชนิดหนึ่งที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นอย่างสูงและยังเป็นวัสดุที่ป้องกันการแตกละเอียดได้ดีอีกด้วยแต่คริสตัลชนิดนี้สามารถเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย  จึงไม่นิยมนำมาใช้ในการทำกระจกหน้าปัดนาฬิกาสำหรับวัสดุชนิดสุดท้ายที่เราจะกล่าวถึงนั่นก็คือ แซพไฟร์สังเคราะห์ (Synthetic Sapphire)  เป็นวัสดุชนิดพิเศษที่มีความเเข็งแรงทนทานมาก และถูกนำมาใช้เพื่อเป็นคริสตัลชนิดต้านทานรอยขีดข่วนได้ดี

   แซพไฟร์สังเคราะห์ก็คือวัสดุชนิดเดียวกันกับแซพไฟร์ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับต่างๆเว้นเสียแต่ว่าจะเป็นคริสตัลที่ทำขึ้นโดยฝีมือมนุษย์และเมื่อถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ทำนาฬิกาคริสตัลแบบไร้สีเช่นเดียวกับแซพไฟร์ตามธรรมชาติ ซึ่งมีอัตราความแข็งแรงทนทานอยู่ที่ระดับ 9 เลยทีเดียวสำหรับเพชรนั้นถือว่ามีอัตราความแข็งอยู่ที่ระดับ 10 ซึ่งเป็นวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติชนิดเดียวเท่านั้นที่มีความแข็งแรงที่สุด ทั้งนี้แซพไฟร์สังเคราะห์ยังได้มีการนำมาใช้ประกอบเป็นฝาหลังของตัวเรือนเพื่อเผยให้เห็นการทำงานของกลไกที่ตกแต่งขัดเกลาได้อย่างประณีตงดงามอีกด้วย


   สายนาฬิกา
สายนาฬิกาทำมาจากวัสดุหลายๆชนิดที่มีความแตกต่างกัน อาทิ ทองคำ สเตนเลสสตีลชุบทอง ทองเหลืองชุบทอง   เหล็กกล้า ไทเทเนียม  อะลูมิเนียม รวมถึงหนังสัตว์และหนังลูกวัว (Calfskin)  ก็เป็นหนังชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการนำมาทำสายนาฬิกา  ส่วนหนังอีกชนิดหนึ่งหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ก็คือ  หนังแพะอ่อน  (Kidskin)  หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'เชฟโร' (Chevreau) ซึ่งทำมาจากหนังแพะนั่นเอง  นอกจากนี้ยังมีหนังลูกหมูและหนังแกะที่มีการนำมาใช้ประกอบเป็นสายนาฬิกาด้วยเช่นกัน  สำหรับกลุ่มประเภทของหนังที่นำมาทำสายของนาฬิกาที่เราเรียกกันว่า หนังเทศหรือหนังที่มีลวดลายประหลาด (Exotics)  โดยทั่วไปจะมีราคาสูงกว่าหนังวัวหรือหนังหมูในที่นี้จะขอยกตัวอย่างให้เห็นกันอย่างชัดเจนได้แก่ หนังตะกวด (Lizard)  หนังจระเข้ท้องเหลือง (Crocodile)    หนังจระเข้ตีนเป็ด(Alligator)  หนังนกกระจอกเทศ (Ostrich)  และหนังปลาฉลาม (Shark) และล่าสุดได้มีการนำ คาร์บอนไฟเบอร์มาใทำสายนาฬิกา

    อย่างไรก็ดีบางครั้งได้มีการนำหนังลูกวัวมาตอกลายนูนเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายที่ดูคล้ายกับหนังเทศ ในกรณีเช่นนี้จะเรียกสายหนังประเภทนี้ว่า สายหนังลายนกกระจอกเทศ (Ostrich-Look) หรือสายหนังลายตะกวด (Lizard-Look) เป็นต้น   ส่วนคำว่าตอกลายนูน (Embossed) และลายเมล็ดข้าวนั้น(Grain)ได้มีการนำมาใช้เพื่ออธิบายถึงการตกแต่งลวดลายเหล่านี้ อย่างเช่นตอกกลายหนังจระเข้หรือลายหนังนกกระจอกเทศ ยังมีสายนาฬิกาอีกหลายชนิดซึ่งทำมาจากวัสดุ   สังเคราะห์ อาทิ ไนลอน พลาสติก ยาง เเละเคฟลาร์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความเหนียวเป็นพิเศษซึ่งมีการนำไปใช้เพื่อทำเป็นเสื้อเกราะกันกระสุนวัสดุต่างๆเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงสำหรับการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนาฬิกาสปอร์ตเพราะว่ามีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถทนต่อสภาวะอากาศได้เป็นอย่างดี
   สารพัดวัสดุเหล่านี้ถูกนำมาผสมผสานกันและกลายเป็นเรือนเวลาสวยและทรงคุณค่า  นี่เฉพาะเเค่ภายนอกเท่านั้นหากลงลึกถึงชิ้นส่วนกลไกภายในที่ทำงานด้วยแล้วจะยิ่งเห็นถึงความหลากหลายของวัสดุที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์นาฬิกาแต่ละเรือน

บทความดีๆจากเว็บฟิสิกส์ราชมงคล
http://www.electron.rmutphysics.com

วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561

นาฬิกาอัจฉริยะสำหรับนักผจญภัย Casio PROTREK WSD-F20-WE Limited Edition


คาสิโอประเทศญี่ปุ่นประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของคาสิโอเมื่อวันที่10 มกราคม 2018 เปิดตัวนาฬิกาข้อมือตระกูล Protrek รุ่น WSD-F20-WE เป็นลิมิเต็ดอิดิชั่นผลิตเพียง 1500เรือน มาพร้อมกับหน้าปัดใหม่แบบสัมผัส "Journey" ขนาด 1.32นิ้ว Dual Layer Display แสดงผลทั้งสีและขาวดำ สี 320×300 pixels ใช้ร่วมกับสมาร์ทโฟน แสดงตำแหน่งในแผนที่รับสัญญาณ GPS ขนาดตัวเรือน 61x58x15mm น้ำหนัก 92กรัม กันน้ำลึก 50 เมตร ฟังก์ชั่นใช้งานสำหรับนักผจญภัยเพียบใช้กับ Android เวอร์ชั่น 4.3 ขึ้นไปส่วนท่านที่ใช้ไอโฟน iOS 9 ขึ้นไป

วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

Casio G-Shock GAW-100CX-4A Limited Edition


คาสิโอเอาใจแฟนๆชาวจีนที่เป็นสาวก G-Shock ต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึงด้วย นาฬิกา G-Shock GAW-100CX-4A สีแดงสีที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสีแห่งโชคลาภ ขนาดตัวเรือนและฟังก์ชั่นก็คือตระกูล GAW-100 กล่องและแพคเกจสีแดงเหมาะแก่การมอบเป็นของขวัญเนื่องในโอกาสพิเศษ แฟนๆชาวไทยที่สนใจคงต้องตามล่าในเว็บเอาครับ
ขนาดตัวเรือน 52x17mm
งานนี้ G-Shock จับมือกับนักร้องแรพเปอร์ชื่อดังแห่งแดนมังกร MC HotDog

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธีดูสายสแตนเลสไซโก้ปลอม

สายสแตนเลสไซโก้รุ่นเก่า สำหรับท่านที่เก็บสะสมนาฬิกาไซโก้เวลาเลือกซื้อนาฬิกาไซโก้เก่ามือสองอาจจะ มีโอกาสเจอครับ เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าตัวนาฬิกาข้อมือมีการใช้งานที่ยาวนานทำให้สายเกิดความเสีย หายซึ่งอาจจะหาสายเดิมไม่ได้ หรือไม่ก็ผู้ขายต่อต้องการประหยัดต้นทุน จึงนำสายปลอมมาใส่แทนอีกประเด็นคือความไม่รู้ไม่ว่ากรณีใดก็แล้วแต่ มีข้อสังเกตุคือ ผิวโลหะจะไม่มันเงา และน้ำหนักของปลอมจะเบากว่าของแท้ เนื่องจากไม่ใช่ สแตนเลสคุณภาพสูงเหมือนของจริงและที่สำคัญคำว่า Seiko ตรงบานพับจะไม่คมชัดเจนเหมือนของจริง ตามรูป พอดูเป็นแนวทางได้ครับ



วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การเรืองแสงของพรายน้ำ



การเรืองแสงของพรายน้ำ 
ในเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงจากภายนอกเข้ามากระทบบนหน้าปัดนาฬิกา แต่เรากลับมองเห็นตัวเลขหรือจุดต่างๆ บนหน้าปัดนาฬิกาได้ โดยมองเห็นเป็นแสงสีเขียวนั้นเป็นเพราะว่าเกิดปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า phosphorescence หรือ การเรืองแสง นั่นเอง ซึ่งแสงสีเขียวที่เรามองเห็นนั้นเรียกว่า "พรายน้ำ" phosphorescence เป็นปรากฏการณ์ที่คู่กับ fluorescence แต่ในชีวิตประจำวันเราจะชินกับ fluorescence มากกว่า (เช่นหลอดไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านทั่วไป) ปรากการณ์ทั้ง 2 อย่างนี้แตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้คือ fluorescence คือการเรืองแสงของสสารบางอย่างที่จะเกิดการเรืองแสงเมื่อมีพลังงาน เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าตกกระทบ เมื่อรังสีจากภายนอกหยุดตกกระทบการเรืองแสงก็จะหยุดทันที สำหรับ phosphorescence คือการเรืองแสงที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่สารเรืองแสงได้รับพลังงาน เช่น รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่น แสงสว่าง) และเมื่อสารเรืองแสงไม่ได้รับพลังงานจากภายนอกแล้ว การเรืองแสงก็ยังไม่หยุดในทันที จะเกิดการเรืองแสงต่อไปอีกสักพักหนึ่งแล้วจึงหยุดการเรืองแสง
 พรายน้ำบนหน้าปัดนาฬิกาข้อมือเรืองแสงได้เพราะได้รับแสงสว่างจากภายนอก เช่น หลอดไฟ มาก่อน เมื่อเราดับไฟแล้วพรายน้ำก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปอีกพักใหญ่ก่อนที่เราจะมองไม่เห็น
การที่บางครั้งเราตื่นนอนตอนดึกแล้วเห็นนาฬิกายังมีแสงสีเขียวเรืองแสงอยู่ได้ก็เพราะว่า กลางดึกที่เราคิดว่ามืดนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้มืดสนิท ยังคงมีแสงสว่างจากที่ใดที่หนึ่งแย่หรือแสงสว่างในห้องเพียงลางๆ ซึ่งก็เพียงพอที่จะทำให้หน้าปัดนาฬิกาข้อมือเกิดการเรืองแสงได้ แต่ถ้าเก็บนาฬิกามีพรายน้ำในที่มืดสนิทจริงๆ ก็จะไม่มีการเรืองแสงขึ้น
ซึ่งสารเรืองแสงนี้ทำมาจากสารเคมีบางชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบของกำมะถัน หรือ ซัลไฟด์ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) โดยใช้สารเคมีเหล่านี้ฉาบหรือผสมอยู่

วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เครื่องวัดเวลา‏


เราทุกคน รู้ดีว่าเวลาคืออะไร แต่หากจะให้อธิบายความหมายของเวลา เราหลายคนอธิบายไม่ได้ และถึงแม้จะอธิบายไม่ได้ แต่เราก็รู้ว่าเวลามีการเปลี่ยนแปลงโดยสังเกตดูการหมุนของโลกจากกลางคืนสู่ กลางวัน และกลับกลางคืนอีก เราเรียกเวลาที่โลกหมุน รอบตัวเองหนึ่งรอบว่าหนึ่งวัน หรือดูการเปลี่ยนแปลงของฤดู จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝนแล้วเปลี่ยนไปเป็นฤดูหนาว จากนั้นก็หวน กลับมาสู่ฤดูร้อนอีก เราเรียกเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบว่า 1 ปี เป็นต้น

ไม่มีใครรู้ชัดว่ามนุษย์เริ่มสามารถบอกเวลาและวัดเวลาได้ตั้งแต่เมื่อใด แต่นักประวัติศาสตร์ก็ได้พบหลักฐานที่แสดงว่า เมื่อ 3,500 ปีก่อนนี้ คนอียิปต์โบราณได้เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้นาฬิกาเงาวัดเวลา เมื่อสังเกตเห็นความยาวของเงาต้นไม้และเงาของตนขณะ อยู่กลางแจ้งว่าขึ้นกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า เขาจึงคิดใช้ความยาวของเงาเป็นดัชนีชี้บอกเวลาของวัน โดยนำท่อนไม้สั้น และยาวมาอย่างละท่อนแล้ววางตัดกันเป็นรูปตัว T เมื่อถึงยามเช้า เขาก็นำที่ทำด้วยไม้สองท่อนนี้ วางกลางแดดโดยวางให้ ไม้ท่อนสั้นรับแสงอาทิตย์ จากนั้นก็ใช้ความยาวของเงาไม้ที่ปรากฎไม้ท่อนยาวบอกเวลาและเมื่อถึงเวลา เที่ยงวัน ซึ่งเป็นเวลาที่ ดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะและเงาไม้ท่อนสั้นมีความยาวสั้นที่สุด
เขาก็กลับทิศทางของนาฬิกาโดยหันไม้ท่อนสั้นไปทางทิศตะวันตก แล้วใช้ความยาวของเงาบอกเวลาในยามบ่ายอีก ส่วนในเวลากลางคืน ชาวอียิปต์โบราณไม่ใช้นาฬิกา เพราะเชื่อว่าในขณะนั้นโลก ไม่มีเวลาใดๆ นาฬิกาเงาที่ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ขึ้นนี้มีข้อดีคือ การมีรูปร่างที่กะทัดรัดทำให้คนใช้นาฬิกาสามารถนำมันติดตัวไป ไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบาย แต่ความผิดพลาดก็มากคือประมาณ 15 นาที/วัน


เมื่อมนุษย์มีความเป็นอารยะมากขึ้น เทคโนโลยีการวัดเวลาได้วิวัฒนาการขึ้น ชาวกรีกได้เริ่มรู้จักแบ่งเวลาให้วันหนึ่งๆ ออกเป็น 2 ช่วงเท่าๆ กัน และได้ประดิษฐ์นาฬิกาน้ำขึ้นมาเพื่อวัดเวลา เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว และเรียกนาฬิกาที่ประดิษฐ์ว่า clepsydra ซึ่งมาจากคำว่า (cleps + hydra = ขโมย+น้ำ) เพราะนาฬิกานี้ทำด้วยภาชนะดินเผาที่มีรูที่ก้นภาชนะเพื่อให้น้ำไหลออก โดยชาว กรีกถือว่าเวลาหนึ่ง clepsydra คือเวลาที่น้ำใช้ในการไหลรั่วออกจากภาชนะจนหมด และนี่คือที่มาของคำ clepsydra ซึ่งแปลตรงๆ ว่าขโมยน้ำ ดังนั้นก่อนที่มนุษย์จะรู้จักคำว่า ชั่วโมง (hour) ในการบอกหน่วยของเวลา มนุษย์จึงนับเวลาเป็นหนึ่ง สอง สาม… clepsydra ก่อน และความคลาดเคลื่อนในการวัดเวลาของนาฬิกาประเภทนี้ก็ประมาณ 15 นาที/วันเช่นกัน

นาฬิกาทรายก็เป็นอุปกรณ์วัดเวลาอีกประเภทหนึ่งที่ชาวก รีกโบราณรู้จักใช้บอกเวลา โดยเขาจะนำทรายมาบรรจุในส่วนบนของภาชนะที่ทำด้วยแก้วเพื่อให้เห็นการเคลื่อน ที่ของเม็ดทรายแล้วปล่อยให้เม็ดทรายทยอย ไหลผ่าน คอคอดเล็กๆ ที่ต่อระหว่างส่วนบนกับ ส่วนล่างของภาชนะลงสู่ส่วนล่างของภาชนะ ในการทำนาฬิกาทรายนี้ คนทำจะต้องกำหนดของภาชนะบรรจุทรายและปริมาณ ทรายที่ใช้บรรจุให้พอเหมาะพอดี เพื่อให้เม็ดทรายทยอยไหลลงหมดพอดีในเวลาหนึ่งชั่วโมงและเมื่อนาฬิกาทรายนี้ นักทำด้วยแก้ว ดังนั้น มันจึงมีชื่อเรียกในบางครั้งว่า hourglass




นอกจากนาฬิกาแดด น้ำ และทรายแล้ว ผู้คนในสมัยโบราณยังรู้จักใช้วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ อีกหลายชนิดเป็นนาฬิกาเช่น ใช้เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำนาฬิกาเทียนไขและนาฬิกาน้ำมัน เป็นต้น โดยการอ่านเครื่องหมายที่ขีดบนลำเทียนซึ่งจะแสดงเวลาที่เนื้อเทียนได้ถูกเผา ไหม้ไป หรือในกรณีของนาฬิกาน้ำมันก็เช่นกัน คนเอสกิโมจะเอาน้ำมันใส่ภาชนะที่มีเครื่องหมายบอกระดับความลึกของน้ำมัน ดังนั้น เวลาจุดตะเกียงน้ำมันที่ซึมผ่านเส้นด้ายไปหล่อเลี้ยงเปลวไฟตลอดเวลา จะทำให้ความลึกของน้ำมันในภาชนะลดลงๆ และระดับความลึกของน้ำมันนี้ก็สามารถชี้บอกเวลาที่ผ่านไปได้เช่นกัน

เมื่อวันเวลาผ่านไป มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น อุปกรณ์ต่างๆ เริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า ในปี พ.ศ. 1903 โลกได้รู้จักนาฬิกาที่ทำงานโดยอาศัยเครื่องจักรกลเป็นครั้งแรก เมื่อพระเจ้า Charles ที่ 5 ของฝรั่งเศส ได้ทรงจ้างวิศวกรชื่อ Henri de Vick ให้สร้างนาฬิกาติดในหอคอยพระราชวังของพระองค์ ซึ่งนาฬิกาที่ทำขึ้นนี้มีน้ำหนักถึง 250 กิโลกรัม เพราะประกอบ ด้วยลูกตุ้มเหล็กซึ่งแขวนติดที่ปลายเชือกแล้วให้เส้นเชือกพันรอบท่อนไม้ เมื่อปล่อยลูกตุ้มเหล็ก น้ำหนักที่มหาศาลของมันจะดึงเชือก ลงทำให้ท่อนไม้หมุน ในขณะเดียวกัน ชิ้นส่วนต่างๆ ที่โยงติดอยู่กับท่อนไม้ก็จะเคลื่อนที่ด้วย ตุ้มหนักจึงเปรียบเสมือนแหล่งพลังงาน ของนาฬิกา ความเทอะทะของนาฬิกาชนิดนี้ไม่ได้ทำให้ผู้คนนิยมใช้แต่ประการใด จนกระทั่ง Peter Henlein ได้พบว่า สปริง สามารถทำให้นาฬิกาเดินได้ ในราวปี พ.ศ. 2000 จากนั้น เทคโนโลยีการทำนาฬิกาก็ได้วิวัฒนาการอย่างรวดเร็วคือ นาฬิกามีขนาดเล็กลง และเดินเที่ยงตรงขึ้นๆ จนผิดพลาดไม่เกิน 1-2 วินาทีใน 1 วัน



เทคโนโลยีการทำนาฬิกาได้ก้าวกระโดดไปอีกระดับหนึ่ง เมื่อ Galileo Galilei ได้สังเกตเห็นว่าตะเกียงที่แขวนห้อยจากเพดาน ของมหาวิหารในเมือง Pisa ไม่ว่าจะแกว่งมากหรือน้อยเพียงใด เวลาที่มันใช้ในการแกว่งไป-มา ครบหนึ่งรอบนั้นจะเท่ากันเสมอ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2184 Galileo จึงให้บุตรชายที่มีนามว่า Vincenzio Galilei สร้างนาฬิกาที่ทำงานโดยใช้ลูกตุ้ม pendulum เป็นตัวควบคุมเวลา จากนั้นเทคโนโลยีการทำนาฬิกาที่เดินอย่างเที่ยงตรงก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นๆ และเมื่อถึงยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีการวัดเวลาที่เราได้ยึดมาตรฐานว่า เวลา 1 วันคือเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบก็เริ่มแสดงให้นักวิทยาศาสตร์ รู้ว่าโลกมิได้หมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบในแต่ละวันๆ นั้นเท่ากัน บางวันมันก็หมุนเร็ว บางวันมันก็หมุนช้า ดังนั้น มาตรฐานหรือ คำจำกัดความของ 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง หรือ 86,400 วินาที ที่ใช้บอกเวลาในการหมุนรอบตัวเองของโลกก็ต้องเปลี่ยน

ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2510 สถาบัน Bureau International des Poids et Measures จึงได้กำหนดมาตรฐานของคำว่า วินาทีใหม่ โดยให้เป็นเวลาที่คลื่นลูกหนึ่งที่อะตอมของธาตุ cesium 133 ปลดปล่อยออกมาใช้ในการเคลื่อนที่ได้ครบ 9,192,631,770 รอบ และเมื่อเวลานี้สม่ำเสมอไม่ว่าอะตอมของ cesium จะอยู่ ณ ที่ใดในจักรวาล เวลานี้จึงเป็นเวลามาตรฐานได้และโดยอาศัยการทำงาน ของ cesium ในการบอกเวลาเช่นนี้ นาฬิกาปรมาณูจึงละเอียด แม่นยำ และเที่ยงตรงกว่านาฬิกาลูกตุ้มเฟนดูลัมถึง 7 ล้านเท่า ณ วันนี้ นาฬิกา cesium ของ National Institute of Standards and Technology ที่ Boulder ในรัฐ Colorado สหรัฐอเมริกา และที่ Laboratoire Primaire du Temps et des Frequences กำลังครองแชมป์การเป็นนาฬิกาที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด ในโลก คือถ้าหากให้นาฬิกาทั้งสองนี้เดินนาน 20 ล้านปี มันจะเดินได้ไม่ผิดและไม่พลาดเกิน 1 วินาที หรืออาจจะพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า นาฬิกานี้วัดเวลาได้ถูกถึง 0.0000000000000015 วินาที

เมื่อ 1,600 ปีก่อน นักบวช St. Augustine ได้เคยปรารภว่า "ในขณะที่เรากำลังวัดเวลาอยู่นี้ เรารู้หรือเปล่า ว่า เวลามาจากไหน และเวลากำลังเดินทางผ่านอะไรอยู่ และมันกำลังจะไปไหน"

จริงหรือไม่ที่ว่านาฬิกานั้นเป็นแค่เครื่องบอกเวลาหรือเครื่องประดับ

 ก่อนที่ทุก ๆ ท่านจะอ่านบทความนี้ ผมมีคำถามเล็ก ๆ สำหรับทุก ๆ คน โดยขอท่านตั้งคำถามสำหรับตัวท่านในใจว่า นาฬิกาที่อยู่บนข้อมือของท่านที่...