แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กลไกอัตโนมัติ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กลไกอัตโนมัติ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

MB&F Horological Machine No.3 Frog




ตาที่ปูดโปนออกมาทั้งสองข้าง ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน้าปัดแสดงเวลา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทำให้ นาฬิกา รุ่นนี้หน้าตาเหมือนกบไม่มีผิดเพี้ยน ตรงตาชื่อที่ให้ว่า ฟร็อก ( Frog ) ของทายาทรุ่นที่ เอชเอ็ม3 ( HM3 ) ในตัวเรือนไททาเนียมเกรด 5 คู่โรเตอร์ รูปทรงขวานรบทอง 22K สีน้ำเงิน ผลิตจำนวนจำกัด 12 เรือน และรุ่นตัวเรือนไททาเนียมสีดำคู่โรเตอร์ทอง 22K สีเขียว ขนาด 47.0×50.0 มิลลิเมตร หนา 16.0 มิลลิเมตร ประกอบเม็ดมะยมหมุนเกลียวลง กระจกคริสตัลแซพไฟร์ทั้งบนหน้าปัดและฝาหลังเคลือบสารกันแสงสะท้อนทั้งสองด้าน เผยให้เห็นการขับเคลื่อนของ กลไกอัตโนมัติ ออกแบบโดย ฌอง – มาร์ค วีเตอร์เรค / อาเกนฮอร์ ( Jean – Marc Wiederrecht/Agenhor )จากกลไกฐานของจิราร์ด-แพร์โกซ์ ( Girard-Perregaux )ทำงานด้วยความถี่ 28,800 ครั้งต่อชั่วโมง ประกอบด้วยทับทิม 36 เม็ด และชิ้นส่วนกลไกรวม 304 ชิ้น เพื่อประสิทธิภาพของการแสดงชั่วโมงและวันที่บนด้านโดมด้านหนึ่ง ทำงานจากอะลูมินั่มหมุนรอบ 12 ชั่วโมง ขณะที่บอกนาทีบนโดมที่สองเป็นอะลูมินั่มหมุนรอบ 60 นาทีและบอกวันที่อยู่รอบกลไก จับคู่สายหนังจระเข้เย็บตะเข็บ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

นาฬิกาข้อมือ Rado Ceramica Digital Automatic

นาฬิการาโด้
พลิกโฉมวงการนาฬิกาข้อมือด้วยกลไกอัตโนมัติแบบพิเศษ ที่แสดงผลในรูปดิจิตอล โดยกลไกอัตโนมัติ Cal. E18.711 จะทำหน้าที่ส่งพลังงานและเก็บกักพลังงานสำหรับการแสดงผลไว้และแสดงเวลาผ่านหน้าปัด Digital โดยมีระยะเวลาสำรองพลังงานได้ 120วัน เมื่อนาฬิกาไม่ได้รับพลังงานเพิ่มเติม
ด้วยตัวเรือนคมเข้ม ทรงเหลี่ยม PVD ซ้อนอยู่ในเซรามิค มาพร้อมกับสายเซรามิค ที่ทนทานรอยขีดข่วนไดเป็นอย่างดี เป็นลิขสิทธ์เฉพาะ Rado ด้วยส่วนผสมของ
Hi-Tech Ceramic แบบพิเศษที่ทาง Radoได้คิดค้นขึ้น