แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ชิ้นส่วนนาฬิกา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ชิ้นส่วนนาฬิกา แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์อุตสาหกรรมนาฬิกาและชิ้นส่วน


1. บทนำ

อุตสาหกรรมนาฬิกาและชิ้นส่วน เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา ในอดีตผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำของโลกได้สนใจย้ายฐานการลงทุนเข้ามาที่ประเทศไทย เนื่องจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐและปัจจัยที่สำคัญคือต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่าประเทศอื่น โรงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงเป็นการร่วมลงทุน และเป็นบริษัทในเครือของบริษัทใหญ่ในต่างประเทศ ที่ผลิตนาฬิกาสำเร็จรูป ชิ้นส่วนและอุปกรณ์และส่งจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทแม่ในต่างประเทศ เป็นผลทำให้ประเทศไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ประกอบกับ
แรงงานมีทักษะความชำนาญรวมทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่รองรับอุตสาหกรรมการผลิตที่ครบ
วงจรมากกว่าประเทศอื่นๆ อุตสาหกรรมนาฬิกาและชิ้นส่วนมีอัตราการผลิตขยายตัวตามอัตราการขยายตัวของจำนวนประชากรและรายได้ประชากร โดยในปี 2543 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 11,823.5 ล้านบาท
การส่งเสริมสนับสนุนของภาครัฐจะทำให้สามารถพัฒนาไปได้ในทิศทางที่เหมาะสมและจะสามารถรักษาฐานการผลิตอุตสาหกรรมนาฬิกาและชิ้นส่วนไว้ในประเทศต่อไป

2. การผลิต

ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมนาฬิกาและชิ้นส่วนครั้งแรกในปี 2511 โดยมีนักลงทุนต่างชาติผู้ผลิตนาฬิการายใหญ่จากต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เข้ามาลงทุนและร่วมลงทุน และบางส่วนผู้ประกอบการไทยที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การผลิตได้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนที่ไม่ซับซ้อนให้กับประเทศผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำของโลก และสามารถ
พัฒนาทักษะฝีมือในการผลิตจนสามารถผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์นาฬิกาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจนสามารถผลิตได้อย่างครบวงจรและส่งออกภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทแม่ รวมทั้งส่งไปจำหน่ายยังประเทศอื่น ๆ ด้วย จนกระทั่งในปี 2525 ได้มีการประกอบนาฬิกาสำเร็จรูปขึ้นในประเทศไทย ปัจจุบันการผลิตชิ้นส่วนนาฬิกายังต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการผลิต โดยนำเข้าวัตถุดิบร้อยละ 50-70 ของมูลค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนทั้งหมด ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตชิ้นส่วนได้เกือบทุกประเภทแต่ยังไม่สามารถสนองความต้องการตลาดได้อย่างเพียงพอ การประกอบนาฬิกาสำเร็จรูปของประเทศไทยต้องใช้ชิ้นส่วนจากต่างประเทศร่วมกับชิ้นส่วนในประเทศในสัดส่วนประมาณ 3 : 1 และการประกอบนาฬิกาสำเร็จรูปยังคงมีลักษณะเป็นการรับจ้างผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยมีบางส่วนส่งกลับไปยังบริษัทแม่ และจากมาตรการส่งเสริมการส่งออกและนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมายแก่ผู้ผลิตเพื่อการส่งออก จึงทำให้โรงงานประกอบนิยมนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาผลิตและส่งออกมากกว่าจะใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนภายในประเทศ


อ่านเพิ่มเติม.......