แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ BREITLING แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ BREITLING แสดงบทความทั้งหมด
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
BREITLING for Bentley Masterpiece 'w.o.' บรรณาการผสานความเที่ยงตรง
จุดเริ่มต้นของ ไบรท์ลิง (Breitling) ในปี 1884 หวังสร้างนาฬิกาจับเวลาที่เที่ยงตรง ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการพัฒนาอากาศยาน ดังนั้นนาฬิกาของแบรนด์นี้จึงถูกนำไปใช้กับเครื่องบินและเหล่านักบิน และด้วยคุณภาพที่แสดงค่าเวลาได้อย่างเที่ยงตรง จึงทำให้เครื่องบอกเวลาของ Breitling ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว Breitling ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังได้สร้างพันธมิตรกับเหล่ากองทัพอากาศและยังกลายมาเป็นนาฬิกาประจำนักบินของฝูงบินชื่อดังของโลก
นอกเหนือจากเป็นพันธมิตรร่วมกับเหล่าการบินแล้ว ทาง Breitling ยังจับมือร่วมกับเบนท์ลีย์ (Bentley) รถยนต์นั่งระดับหรูที่คงความเป็นผู้ดีอังกฤษไว้ทุกกระเบียดนิ้ว ผลิตผลงานเครื่องบอกเวลาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยทั้ง Breitling และ Bentley จะมีรากฐานเดียวกันในด้านจิตวิญญาณที่เน้นในเรื่องของกลไกอันประณีต ที่สะท้อนความหรูหราและคุณสมบัติที่ครบถ้วนในการใช้งาน
และเมื่อปีที่ผ่านมา ทาง Breitling และ Bentley ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่น 'W.O.' ที่ถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่สืบทอดเทคนิคการผลิตเรือนเวลาชั้นสูงด้วยมือ ตัวเรือนทอง 18K เหลืองอร่าม คู่พื้นหน้าปัดขาว เพียบพร้อมฟังก์ชั่นการทำงานที่ครบครัน โดยแยกหน้าปัดย่อยแสดงเวลาวินาทีและเวลาข้างขึ้น-ข้างแรมในตำแหน่ง 6 นาฬิกา วันในตำแหน่ง 9 นาฬิกา และเดือนในตำแหน่ง 12 นาฬิกา พร้อมฟังก์ชั่น Minute Repeater ที่ให้เสียงใสกังวานขับเคลื่อนด้วยกลไกไขลานที่ประกอบตัวเครื่องอย่างประณีต สามารถชื่นชมความงามพิถีพิถันนี้ได้จากฝาหลังแบบเปิดได้ ผลงานนาฬิการุ่นนี้สร้างมาเพื่อการประมูลสำหรับลูกค้าที่ชื่นชอบเรือนเวลาคลาสสิกของBreitling อย่างแท้จริง
GM Watch
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554
TAG HEUER CALIBRE 1887
เลขรุ่น 1887 ของเครื่องตัวใหม่ของ TAG Heuer นี้มีที่มาจากปีที่ Edouard Heuer คิดค้นระบบ Oscillating Pinion ขึ้น แต่เมื่อ TAG Heuer เปิดตัวเคร่ืงรุ่นนี้โดยระบุว่าเป็นเครื่องที่พัฒนาขึ้นเองแบบอินเฮ้าส์ทั้งหมดRobers ก็ได้รับทราบมาจากการประชุมกับวิศวกรของ TAG Heuer ว่าทางแบรนด์ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องรุ่นดังกล่าวเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจหลายประการมาตั้งแต่ที่เริ่มลงมือมาตั้งแต่ปี 2007
" เครื่องรุ่นนี้มีกลไกการจับเวลาแบบ Column Wheel และ Oscillating Pinion ซึ่งก็บังเอิญเป็นนวัคกรรมของ TAG Heuer ในปี 1887 เรียกได้ว่าเป็นเครื่องนาฬิกาจับเวลาที่มีความสวยงามรุ่นหนึ่งเลย "
" เราจะเห็นได้ว่าเครื่องรุ่นนี้ใช้ Balance Spring และ Shock Absorber แบบใหม่เพื่อเน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอยก่อนรูปลักษณ์ "
เมื่อ Roberts ได้วิเคราะห์เครื่อง Calibre 1887 ในรายละเอียดแล้วก็อดรู้สึกไม่ได้ว่านี่คือเครื่องที่ผ่านการคิดค้นใหม่โดยสมบูรณ์ อินเตอร์เฟชระหว่างเครื่องเบสและกลไกจับเวลาของเครื่องรุ่นนี้ทำงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือมี Oscillating Pinion ทำหน้าที่เชื่อมต่อชุดเกียร์โดยการเคลื่อน Pinion ในทิศทางแนวนอนเพื่อเข้าสัมผัส แต่อย่างที่ Roberts กล่าวว่า " แฟชั่นล่าสุดซึึ่งเราจะได้มาดูกันต่อไปในเครื่องของ Breitling ก็คือสิ่งที่เขาเรียกกันว่า Vertical Clutch ซึ่งก็ทำงานเหมือนกับครัทช์ในรถยนต์นี่แหละครับ เป็นชิ้นส่วนที่ช่วยให้คุณสามารถสั่งเริ่มต้นและหยุดการทำงานของกลไกจับเวลาได้ ระบบที่สามซึ่งเป็นแบบคลาสสิกเลยก็คือการใช้ Spur Gear ซึ่งสามารถควบคุมให้เริ่มต้นหรือหยุดการทำงานได้ด้วย Coupling Device "
วิศวกรรมล้ำเลิศ
" หากจะให้เปรียบเทียบก็คงพูดได้ว่าระบบของ TAG Heuer เป็นระบบที่ดีมาก มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นที่ประจักษ์ว่ามีการใช้งานกันในเครื่องนาฬิกาจำนวนมากกว่าระบบอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน "
Roberts ทราบมาว่า TAG Heuer ต้องใช้เวลากับการออกแบบวิศวกรรมกลไกเป็นอย่างมาก " ดีไซเนอร์ของเขาต้องออกแบบเครื่องใหม่หมด เพื่อเริ่มดูว่าจะผลิตแต่ละชิ้นอย่างไร ขั้นตอนนี้ไม่ใช่อะไรง่ายๆ อย่างที่ใครอาจจะคิด การทำให้ได้ดีและมีความสมบูรณ์ในทางวิศวกรรมอย่างที่ TAG Heuer ทำนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย "
" งานนี้เป็นงานที่ยากและละเอียดอ่อน และไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้มีราคาถูกเท่านั้นแต่ยังออกแบบมาเพื่อให้ผลิตโดยเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีความทันสมัยและเทคนิคการผลิตล่าสุดอีกด้วยชิ้นส่วนหลักของเครื่องทั้งเก้าชิ้น อาทิ Main Plate และ Bridge ทั้งหมดผลิตขึ้นที่โรงงาน Cormol ในเทือกเขาจูราของสวิส โรงงานแห่งนี้มีการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ล่าสุดจนเข้าขั้นเป็นโรงงานที่ล้ำสมัยที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ในขณะนี้ ส่วนการประกอบหลักนั้นทำที่โรงงานในลา โซซ์-เดอ-ฟงด์ส ซึ่งมีชื่อเรียกว่า T1 Assembly
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ
QP - DEVOTEDV TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue Thirty Dec . 2010
Issue Thirty Dec . 2010
พรุ่งนี้มาต่อกันครับยังไม่จบ.....
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554
All in the Movement เรื่องเครื่องเรื่องใหญ่
TAG Heuer และ Breitling เป็นสองแบรนด์ที่แม้จะจัดอยู่ในระดับยักษ์ใหญ่แต่ก็ยังคงได้รับแรงกดดันให้พัฒนาเครื่องอินเฮ้าส์เป็นของตนเองเหมือนแบรนด์อื่นๆ ทั้งสองแบรนด์นี้มียอดการใช้เครื่อง ETA/Valjoux ปีละเป็นแสนเครื่องและจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างยิ่งจากปัจจัยเรื่องต้นทุน เงื่อนไขและการจัดส่งเครื่องจาก Swatch Group ผู้ผลิตซึ่งมีแผนจะเลิกสนับสนุนเครื่องในอนาคต ดังนั้น ณ นาทีนี้จึงไม่มีแบรนด์อื่นใดที่จะต้องเป็นกังวลเรื่องอนาคตของเครื่องเท่ากับ TAG Heuer และ Breitling อีกแล้ว
Ken Kessler และ Peter Roberts FBHI
TAG Heuer และ Breitling ต่างเลือกรับมือกับการตัดสินใจของ Swatch Group ที่จะเลิกส่งเครื่องให้บริษัทนอกเครือด้วยการพัฒนาเครื่องอินเฮ้าส์ขึ้นใช้เอง ในกรณีของทั้งสองแบรนด์นี้ต่างก็เลือกผลิตเครื่องนาฬิกาจับเวลากลไกอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เสียค่าที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ทั้งคู่ แต่เส้นทางในการพัฒนาของทั้งสองแบรนด์นั้นไม่เหมือนกันและบ่งบอกถึงความตั้งใจและกลยุทธ์ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี QPจึงต้องจัดให้ช่างนาฬิกาใหญ่ Peter Roberts FBHI ไปวิเคราะห์ทั้งสองพัฒนาการนี้ สุภาพบุรุษท่านนี้เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนช่างนาฬิกา WOSTEP แห่งสวิสและอดีตอาจารย์ประจำ Hackney Technical College ซึ่งเป็นที่ๆ Peter Speake-Marin และ Stephen Forsey เคยเรียนหนังสืออยู่ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ Bremont ทั้งนี้ Roberts มีประสบการณ์หลายทศวรรษในการทำงานกับ rolex และแบรนด์อื่นๆ จึงถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบเครื่องนาฬิกาท่านหนึ่งของโลก
เลขรุ่น 1887 ของเครื่องตัวใหม่ของ TAG Heuer นี้มีที่มาจากปีที่ Edouard Heuer คิดค้นระบบ Oscillating Pinion ขึ้น แต่เมื่อ TAG Heuer เปิดตัวเคร่ืงรุ่นนี้โดยระบุว่าเป็นเครื่องที่พัฒนาขึ้นเองแบบอินเฮ้าส์ทั้งหมดRobers ก็ได้รับทราบมาจากการประชุมกับวิศวกรของ TAG Heuer ว่าทางแบรนด์ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องรุ่นดังกล่าวเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจหลายประการมาตั้งแต่ที่เริ่มลงมือมาตั้งแต่ปี 2007
" เครื่องรุ่นนี้มีกลไกการจับเวลาแบบ Column Wheel และ Oscillating Pinion ซึ่งก็บังเอิญเป็นนวัคกรรมของ TAG Heuer ในปี 1887 เรียกได้ว่าเป็นเครื่องนาฬิกาจับเวลาที่มีความสวยงามรุ่นหนึ่งเลย "
" เราจะเห็นได้ว่าเครื่องรุ่นนี้ใช้ Balance Spring และ Shock Absorber แบบใหม่เพื่อเน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอยก่อนรูปลักษณ์ "
เมื่อ Roberts ได้วิเคราะห์เครื่อง Calibre 1887 ในรายละเอียดแล้วก็อดรู้สึกไม่ได้ว่านี่คือเครื่องที่ผ่านการคิดค้นใหม่โดยสมบูรณ์ อินเตอร์เฟชระหว่างเครื่องเบสและกลไกจับเวลาของเครื่องรุ่นนี้ทำงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือมี Oscillating Pinion ทำหน้าที่เชื่อมต่อชุดเกียร์โดยการเคลื่อน Pinion ในทิศทางแนวนอนเพื่อเข้าสัมผัส แต่อย่างที่ Roberts กล่าวว่า " แฟชั่นล่าสุดซึึ่งเราจะได้มาดูกันต่อไปในเครื่องของ Breitling ก็คือสิ่งที่เขาเรียกกันว่า Vertical Clutch ซึ่งก็ทำงานเหมือนกับครัทช์ในรถยนต์นี่แหละครับ เป็นชิ้นส่วนที่ช่วยให้คุณสามารถสั่งเริ่มต้นและหยุดการทำงานของกลไกจับเวลาได้ ระบบที่สามซึ่งเป็นแบบคลาสสิกเลยก็คือการใช้ Spur Gear ซึ่งสามารถควบคุมให้เริ่มต้นหรือหยุดการทำงานได้ด้วย Coupling Device "
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ
วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
BREITLING CALIBRE B01
ทุกสิ่งเปลี่ยนไปเมื่อเราหันมาทาง Breitling สิ่งแรกเลยที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดก็คือราคาของนาฬิกา Chronomat ที่ใช้เปิดตัวเครื่องรุ่น B01 เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นใดก็มีสนนราคาราวสองเท่าของนาฬิกา Carrera Calibre 1887 อยู่แล้ว แนวทางนี้จะช่วยให้ Breitling ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อจำกัดทางราคาเหมือนอย่าง TAG Heuer
แถม Breitling ยังใจดีส่งเครื่องรุ่นใหม่นี้มาให้ Roberts เพื่อการตรวจสอบด้วย " นี่เป็นเครื่องอินเฮ้าส์รุ่นแรกของ Breitling อย่างแท้จริง ทาง Breitling ได้เลือกแนวทางในการพัฒนาที่แตกต่างไปจาก TAG Heuer โดยดีไซน์เนอร์ของเขาน่าจะเริ่มกระบวนการพัฒนาเครื่องรุ่นนี้ก่อน TAG Heuer เล็กน้อย จากตัวเลขที่ผมมีก็น่าจะเป็นปี 2004 ซึ่งก็อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าบรรยากาศเศรษฐกิจโลกและวงการนาฬิกาโลกยังคงดีอยู่ " Breitling เสร็จสิ้นการออกแบบในราวปี 2007 ทำให้เริ่มผลิตได้ในปี 2008 และเปิดตัวสู่สาธารณชนได้ในปี 2009 ในที่สุด
" มองย้อนหลังกลับไปเมื่อปี 1969 Breitling เคยจับมือกับ Heuer และ Hamilton/Buren ผลิตเครื่อง Calibre 11 ซึ่งเป็นเครื่องนาฬิกาจับเวลากลไกอัตโนมัติรุ่นแรกๆ ของโลกมาแล้วเบียดกับเครื่อง Zenith EI Primero และเครื่องนาฬิกาจับเวลากลไกอัตโนมัติรุ่นแรกของ Seiko พอดี ในครั้งนั้น Breitling มีส่วนร่วมในการออกแบบเครื่อง Calibre 11 อย่างใกล้ชิดแม้ว่างานหลักในการประดิษฐ์โมดูลจับเวลาจะเป็นหน้าที่ของ Dubois-Depraz ก็ตาม
" เมื่อมองดูเครื่อง Calibre 11 คุณจะเห็นว่าการออกแบบแตกต่างจาก B01 เป็นอย่างมากเพราะ Calibre 11 ใช้ระบบขึ้นลานแบบ Micro Rotor จึงทำให้ตัวบางมากเป็นพิเศษ จากนั้นจึงนำเอาโมดูลจับเวลามาติดเป็นชุดโดยใช้สกรูว์ยึด 3 ตัวจนทำให้ Calibre 11 ออกมาค่อนข้างหนา "
" อีกวิธีการหนึ่งในการพัฒนาเครื่องนาฬิกาจับเวลากลไกอัตโนมัติคือการนำเอากลไกทุกส่วนลงไปประกอบไว้ในตัวเครื่องเลยซึ่งเป็นแนวทางที่ปรากฎใน EI Primero และในเครื่อง B01 ใหม่ของ Breitling ข้อเสียของแนวทางนี้ก็คือ จะเป็นงานหนักสำหรับช่างนาฬิกาเมื่อต้องมีการซ่อมแซมหรือวิเคราะห์หาจุดปัญหา เพราะทุกอย่างจะอยู่ซ้อนกันและพันกันไปหมดจะรื้ออะไรทีหนึ่งก็ต้องถอดชิ้นส่วนออกมาเป็นจำนวนมาก Breitling จึงใช้ความพยายามเพื่อแก้ไขข้อด้อยนี้เป็นพิเศษ "
" ในเครื่อง B01 ใหม่ Breitling เลือกที่จะอินทีเกรทกลไกทั้งหมดเพื่อความบางพร้อมด้วย Column Wheel ที่คนที่รักนาฬิกายังคงชื่นชอบสำหรับควบคุมการทำงานของกลไกจับเวลา"
" สำหรับเราๆ ที่เป็นช่างนาฬิกาก็มีส่วนที่ชอบ Column Wheel เหมือนกัน และการผลิต Column Wheel ในปัจจุบันนี้ก็ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากแล้วด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรมความเที่ยงตรงสูงสมัยใหม่ และ Breitling ก็ใช้ Vertical Ciutch ด้วยสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกลไกบอกเวลาและกลไกจับเวลาแทนที่จะใข้ Oscillating Pinion หรือ Coupling Device เกียร์แบบธรรมดา "
ดังนั้นความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเครื่อง TAG Heuer และ Breitling ก็คือจุดที่ตัวหนึ่งใช้ระบบ Oscillating Pinion และอีกตัวหนึ่งใช้ระบบ Vertical Clutch "Vertical Clutcch เป็นระบบที่นิยมมากในขณะนี้และเป็นระบบที่ดีด้วย แม้ว่าระบบนี้จะไม่ใช่ไอเดียอะไรใหม่แต่ก็สามารถทำงานร่วมกับวัสดุและเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี "
" เมื่อคุณสั่งการทำงานของเครื่อง B01 แล้ว เข็มวินาทีจับเวลา เข็มนาทีจับเวลาและเข็มชั่วโมงจับเวลาจะเริ่มทำงานบนชุดขับเคลื่อนเดียวกัน ตรงนี้เป็นไอเดียที่ดีเพราะว่าทุกเข็มจะทำงานซิ้งค์กันเสมอ ในขณะที่หากเป็นเครื่องจับเวลารุ่นอื่นอีกหลายรุ่นเข็มชั่วโมงจับเวลานั้นจะถูกขับเคลื่อนแยกต่างหากซึ่งก็ไม่ใช่ข้อเสียหนักหนาอะไรเพียงแค่ว่าการขับเคลื่อนด้วยกันแบบนี้จะมีข้อดีมากกว่านิดหน่อย "
นอกจากนี้ Breitling ยังการติดตั้ง Reset Hammer แบบหาจุดศูนย์กลางเองให้กับเครื่อง B01 อีกด้วย " ก็เหมือนกับเป็น Flyback Hammer ในกลไกจับเวลาครับ และจะเป็นประโยชน์มากในกระบวนการผลิต การประกอบและการบำรุงรักษาในภายหลัง นี่เป็นเทรนด์การออกแบบล่าสุดเหมือนที่ใช้โดย Rolex และแบรนด์อื่นๆ สมัยก่อนเวลาจะทำกลไกตีเข็มกลับคืนสู่ศูนย์ช่างนาฬิกามักจะต้องตะไบและขัด Hummer เหล่านี้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความสามรถและเวลาเป็นอย่างยิ่ง แต่ในปัจจุบันนี้ Hummer มีระบบหาจุดศูนย์กลางเองแล้วจึงสามารถคืนตำแหน่งที่เหมาะสมได้โดยธรรมชาติเมื่อมีการกด Reset การผลิตและการซ่อมแซมก็ง่ายตามไปด้วย "
" ระบบอย่างนี้เชื่อถือได้มากครับ เราต้องไม่ลืมก่อนว่านาฬิกาสมัยใหม่ผลิตด้วยเครื่องจักรเป็นหลักและจะมีการประกอบด้วยมือต่อเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น นั่นหมายความว่านอกจากระบบนี้จะสะดวกสำหรับช่างนาฬิกาแล้วยังทำให้การประกอบนาฬิกาจำนวนมากมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีต้นทุนต่ำลงด้วย "
ในส่วนของการ Regulate นาฬิกานั้น Breitling ได้เลือกใช้ระบบปรับตั้งแบบ Fine Index " มองดูเวลาอยู่บนเครื่องก็พื้นๆ ไม่มีอะไรแต่นาฬิกาเดินตรงมากถึงมากที่สุดครับ ทีนี้ถ้าคุณไปปรับ Micro Adjuster ค่าที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตาม Index "
" ปกติแล้วถ้าคุณต้องการจะปรับตั้งให้ละเอียดขนาดนี้ก็ต้องใช้ระบบ Free Sprung ซึ่งเป็นการน้ำหนักที่ทิ้งลงบน Balance Wheel จริงๆ เมื่อคุณปรับ Index ในนาฬิกาทั่วไปที่ใช้ระบบ Curb Pin ทั้งหมดอะไรๆ มันก็พลาดได้ดังนั้น นั่นคือสาเหตุว่าทำไมคุณต้องใช้ Timing Machine ประกอบการปรับตั้งจึงจะเที่ยงตรง แต่ระบบ Index แบบใหม่ของ Breitling นี้ช่วยให้ช่างสามารถปรับเรทให้เร็วหรือช้าได้เป็นจำนวนวินาทีต่อวันเป๊ะๆ นี่คือพัฒนาการอีกระดับหนึ่งและผลความเที่ยงตรงที่ได้ก็น่าทึ่งทีเดียวเราคงจะต้องมาดูกันต่อว่าความเที่ยงตรงในระยะยาวจะเป็นอย่างไรเมื่อนาฬิกาที่ขายไปเริ่มต้องมีส่งกลับเข้ามาบำรุงรักษาบ้าง "
กำลังลานสำรองของเครื่อง B01 สอดคล้องกับความนิยมและความต้องการในปัจจุบันที่ 70 ชั่วโมง " เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็อยากได้นาฬิกาที่จะเดินได้ไม่มีหยุดเดินเมื่อถอดทิ้งไว้ทั้งสุดสัปดาห์ เครื่องรุ่นนี้จะเดินต่อไปได้นานถึงสามวันเมื่อคุุณถอดนาฬิกาวางไว้ และที่สำคัญก็คือในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนั้นลานที่ได้ก็จะมาจากช่วงบนๆ ของกำลังลานทำให้แรงบิดที่ส่งออกมานิ่งยิ่งกว่า สรุปคือคุณได้ประโยชน์สองแบบจากการที่นาฬิกาไม่หยุดเดินเร็วและเดินเที่ยงตรงกว่าด้วย "
อีกหนึ่งรายละเอียดแห่งความใส่ใจของ Breitling ก็คือการออกแบบเครื่องให้ช่างสามารถเข้าถึงกระปุกลานได้โดยไม่ต้องรื้อชิ้นส่วนไปครึ่งหนึ่งของเครื่องก่อน ทำให้การเปลี่ยน Mail Spring ทำให้สะดวกกว่าเดิมมาก และเพื่อความสมราคาเครื่อง B01 นี้จึงได้รับการขัดแต่งเต็มที่ด้วยลวดลาย Cotes de Geneve ลายก้นหอย ลายจุด พร้อมลบเหลี่ยมมุมและอื่นๆ อีกสารพัด "
" สิ่งที่ได้ก็คือเครื่องนาฬิกาที่มีความประณีตมากๆ แต่ก็มีต้นทุนในการผลิตสูงกว่า TAG Heuer มากด้วย เรียกได้ว่าเกือบจะทะลุเข้าไปในกลุ่มไฮเอนด์อยู่แล้ว แต่ในขณะนี้ยังมีการใช้เพียงในรุ่น Chronomat เท่านั้น "
" ที่พูดนี่ไม่ใช่ว่าเครื่องใหม่ของ TAG Heuer หรือ Breitling นี้จะมีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐาน Patek Philippe หรอกนะครับ เพราะในระดับราคาเท่านี้ไม่จำเป็นต้องขัดแต่งให้ดีขนาดนั้น แค่เท่าที่เห็นนี้ก็ดูดีมากๆ สำหรับผมมองว่า Breitling มีการขัดแต่งที่ดีเยี่ยมสมราคาและ TAG Heuer ก็ดีไม่แพ้กันสำหรับระดับราคาของเขาเองครับ "
สนใจบทความนาฬิกาดีๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
QP-DEVOTED TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue Thirty December 2021
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
ไซโก้ Seiko Sea Lion C22 ตัวนี้ได้มาจากในเน็ตครับราคา สองพันต้นๆ เป็น นาฬิกา ในยุค 60 เครื่องไซโก้ ไขลาน 6602 บอดี้ 8000 Diashock ทับทิม ...
-
บริษัทไซโก (ไทยแลนด์)จำกัด ซึ่งมีศูนย์บริการ 2 แห่ง ดังนี้ 1.ศูนย์บริการ บริษัทไซโก (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่) เลขที่ 1091/286,...
-
QP. FREDERIQUE CONSTANT Heart Beat Manufacture GMT Automatic Also in this Issue: IWC,Bulgari,Cartier, Alpina,Heritage Watch Manufac...