แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Patek Philippe แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Patek Philippe แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สิบสุดยอดนาฬิกาโครโนกราฟวินเทจที่นักสะสมปรารถนา‏

.Breguet Type XX รุ่นแรก
.Breitling Navitimer ปี 1960-1965
.Breitling Top-Time
.นาฬิกาทหารเยอรมัน Heuer Bundeswehr ยุค 1970 หรือที่เรียกว่า '3H'
.Lemania กองทัพเรืออังกฤษ ยุค 1950
.Omega Speedmaster Professional ก่อนปี 1968
.Panerai Mare Nostrum ยุค 1990
.Patek Philippe Reference 1463
.Rolex Zerograph
.Universal- Geneve Space Compax



นาฬิกาโครโนกราฟจับเวลายังคงครองจิตใจของนักสะสมจำนวนมากได้ แม้ในวันนี้โลกเราจะมีนาฬิกาจับเวลาควอตซ์ความเที่ยงตรงสูงมากมาย ทั้งยังมีแอพในโทรศัพท์ที่จับเวลาได้เหมือนกันอีก และที่เป็นสุดยอดแห่งสุดยอดของวงการจับเวลาก็คือ


นาฬิกาจับเวลาแบบสปลิทเซ็กเกินด์ครับ เพราะสามารถจับเวลา 2 สิ่งที่เริ่มต้นพร้อมกันได้ นักสะสมบางคนก็จะชอบเครื่องที่เป็นกลไกคอลัมวีลมากกว่าแบบโอเวอร์แคม และเมื่อไม่นานมานี้ แบรนด์อย่าง TAG Heuer, Montblanc และ Breitling ก็ออกนาฬิกาจับเวลาที่มีมาร์คเกอร์แบบติดตรึงอยู่กับที่ออกมาและไม่มีเข็มกวาดไปรอบๆ แบบปกติ แต่จะใช้จานหมุนเพื่อช่วยจับเวลาแทน Patek Philippe และ Rolex




ก็มีเครื่องนาฬิกาจับเวลาอินเฮ้าส์เป็นของตนเองแล้วตั้งแต่เมื่อราว 10 ปีก่อน และเมื่อไม่นานมานี้ Breitling ก็เปิดตัวเครื่องนาฬิกาจับเวลาอินเฮ้าส์รุ่นใหม่ถอดด้าม ส่วนเครื่องนาฬิกาจับเวลาของ Bremont นั้น ก็บรรจุอยู่ในกรงฟาราเดย์เพื่อปกป้องตัวเครื่องจากแรงกระทำของสนามแม่เหล็ก


เมื่อปีที่แล้ว Zenith ก็นำเสนอเครื่องนาฬิกาจับเวลาที่มีความละเอียดถึง 1/10วินาทีออกมา และที่งาน Baselworld 2011 ปีนี้ TAG Heuer ก็เผยโฉมนาฬิกาจับเวลาจักรกลเรือนแรกของโลกที่สามารถจับเวลาได้ละเอียดถึง1/1000 วินาที และในงานเดียวกันนี้เองเราก็ได้เห็นการกลับมาอย่างงดงามของนาฬิกาจับอวลาเรือนเด่นจาดอดีตอีกด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็น Heuer Monza Breitling Transocean และ Glycine SST ทั้งหมดสวยงามไร้ที่ติจรองๆครับ



บทความดีๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
QP-DEVOTED TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue 39 September



วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Patek Philippe



Patek Philippe
เป็นแบรนด์หนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันว่ามีกลไก Chronograph ที่ดีที่สุดแบรนด์หนึ่งและนักสะสมก็ให้ความไว้วางใจในกลไกฟังก์ชั่นนี้จาก Patek Philippe มาโดยตลอด

Patek Philippe เริ่มมีฟังก์ชั่น Chronograph ในนาฬิกาข้อมือมาตั้งแต่ปี 1924 โดยใช้พื้นฐานกลไกจาก Victorin Piguet ที่มีกลไก Cronograph แบบ Mono Pusher และกลไก Cronograph แบบอื่นๆ อีกหลายแบบ จนมาถึงยุคที่เริ่มใช้กลไกจาก Valjoux ในปี 1932 และใช้มาเป็นเวลานาน รุ่นหนึ่งที่นักสะสมคุ้นเคยกันดีก็คือ Reference 130 ซึ่งโด่งดังมากด้วยชุดวงจับเวลาที่คุ้นตากันดี คือวงบอกชั่วโมงกับวงบอกนาทีอยู่ทางซ้ายและทางขวาเหมือนกับ Reference 5070 ในยุคของ Valjoux นั้น Patek Philippe มีการปรับปรุงกลไก Cronograph อย่างมากมายรวมถึงใส่ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมลงไปด้วยเช่น Perpetual Calender ใน Reference 1518 หรือ Reference 2499 เองก็ใช้พื้นฐานมาจากกลไกของ Valjoux เช่นกันโดยมีจุดสังเกตง่ายๆ ของกลไก Cronograph ทั้งสองนั่นก็คือ ถ้าเป็นกลไกจาก Valjoux ก็จะมีแกนของ Wheel เป็นทรงก้ามปู และถ้าเป็นกลไกจาก Victorin Piguet ก็จะไม่มีแกน Wheel รูปทรงนี้


Caliber CH28-520


Caliber CH29-535 PS

กลไกต่อมาก็คือ Nouvelle Lemania ในปี 1986 โดยทาง patek Philippe ให้ชื่อว่า Calibre CH 27-70 ซึ่งยังคงแขนของ Wheel เป็นทรงก้ามปูอยู่เช่นเดิม ในจุดนี้ถ้าดูให้ดีจะรู้ว่ากลไกจาก Vajoux และกลไกจาก Nouvelle Lemania เป็นชุดกลไกเดียวกัน เนื่องจากในยุคนั้น Vajoux และ Lemania เป็นโรงงานผลิตกลไกจากแหล่งเดียวกัน
สำหรับ nouvelle Lemania ทาง Patek Philippe จะสั่งผลิตแบบพิเศษจากโรงงานเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้จากแคตตาล็อกของ Patek Philippe ที่จะระบุเป็นพิเศษสำหรับนาฬิการุ่นที่ใช้กลไกจาก Nouvelle Lemania ว่า Exclusively made for Patek Philippe และขั้นตอนการประกอบรวมทั้งการตกแต่งขั้นสุดท้ายจะทำโดยทาง Patek Philippe เองโดยนำกลไกนั้นๆ ที่สั่งพิเศษ มาประกอบและตกแต่งตามมาตรฐานของ Patek Philippe อีกครั้ง โดยกลไกจาก Nouvelle Lemania ของ Patek Philippe จะมีทั้ง Cronograoh เปล่าๆ ที่จับเวลาแบบ 30 นาที เช่น Reference 5070 หรือจะเป็นการนำชุด Module มาวางเพิ่มเติมสำหรับฟังก์ชั่น Perpetual Calendar อย่างเช่นใน Reference 3970 ซึ่งต่อมาก็จะมีใน Reference 5970 ซึ่งจะเป็นกลไกชุดเดียวกัน



Patek Philippe ใช้กลไกจาก Nouvelle Lemania นี้จึงถือเป็นกลไก Chronograph แบบดั้งเดิมแนวอนุรักษ์นิยมที่ใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีหลายสิ่งซึ่งบ่งบอกได้ถึงความนิยมในกลไกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ่มกดจับเวลาที่นุ่มนวลมาก
อย่างไรก็ตาม แม้กลกลไก Chronograph ของ Patek Philippe จะได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็น Reference 3970, 5070, 5970 หรือ 5004 แต่นโยบายจาก Nouvelle Lemania ที่ไม่สามารถผลิตกลไกป้อนให้กับทาง Patek Philippe ได้อีกต่อไปทำให้ Patek Philippe ต้องพัฒนาและผลิตกลไก Chronograph เป็นของตัวเอง



กลไก Chronograph ของ Patek Philippe ชุดแรกจึงออกสู่ตลาดโดยเป็นกลไกของนาฬิกา Chronograph หน้าตาทันสมัยรุ่น Reference 5960P กับกลไก Calibre CH 28-520 IRM QA 24H และต่อมาก็มีใน Reference 5980 แต่สิ่งที่ทำให้บรรดานักสะสมแปลกใจกันมากคือแทนที่ Patek Philippe จะใช้กลไกชุดนี้มาปรับปรุงและใส่ฟังก์ชั่นต่างๆ เพิ่มเติมแต่ปรากฎว่า Patek Philippe ส่งกลไกไขลาน Chronograph รุ่นใหม่ลงสู่ตลาดใน Reference 7071สำหรับสภาพสตรีเป็นครั้งแรก!



หลังจากนั้น Baselworld 2010 ก็นำกลไก Calibre CH29-535 PS ชุดนี้มาใส่ในรุ่นสำหรับสุภาพบุรุษกับ Reference 5170J โดยกลไกชุดนี้ออกแบบได้อย่างแยบยลและสวยมาก น่าภูมิใจสำหรับระยะเวลาการทำงานและการคิดค้นของ Patek Philippe เพราะถือเป็นการผลิตกลไกอินเฮ้าส์แบบ Chronograph ในสองรูปแบบทั้งอัตโนมัติและไขลานซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของ Patek Philippe เนื่องจากในระยะเวลาที่ผ่านมา Patek Philippe จะเลือกใช้กลไกจากภายนอกมากกว่า
ตอนนี้บรรดานักสะสมจึงตั้งตาคอยกลไกที่มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมขึ้นอย่างเช่น Spilt Second ที่น่าจะมีการนำมาใส่ในกลไกอินเฮ้าส์แน่นอน และจะทำให้กลไก Chronograph อินเฮ้าส์ของ Patek Philippe ครบในทุกไลน์อย่างแท้จริง

เครดิตบทความจากหนังสือ QP-DEVOTED TO FINE WATCHES Thai Edition



วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

นาฬิกา Pocket Watch with Minute-repeater, Chronograph, Split-seconds and 30-minute recorder, of Charles B. Rexford


Pocket Watch PATEK PHILIPPE
ผลิตขึ้นราวปี 1910 และ 1913-1914 ขายให้กับ J.C. Hollingsworth ในวันที่ 13 เมษายน 1916 มูลค่า 1865 ฟรังก์สวิส
นาฬิกาพกตัวเรือนทอง ขนาด 50.5 มิลลิเมตรคู่หน้าปัดลงยาสีขาว และตัวเลขทรง Breguet สีดำบรรจุด้วยความซับซ้อนของกลไกขนาด 18” เครื่องเปล่า โดย Victorin Piguet & Co. ชุบเรเดียม สกรูทองใยสปริงสตีลสีน้ำเงิน ความถี่ 18000 ครั้ง/ชั่วโมง ปรับตั้ง 8 ตำแหน่ง ครบด้วยฟังก์ชันการแสดงเวลาหลัก, ระบบระฆังบอกเวลาผ่านระฆัง 2 ชุด ควบคุมผ่านตัวเลื่อนข้างตัวเรือนด้านขวา จับเวลา 1/5 วินาที ใช้งานผ่านปุ่มกดทรงสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่บนเม็ดมะยมไขลาน แยกจับเวลาของสองสิ่งพร้อมกันเป็นวินาที กระตุ้นการทำงานด้วยปุ่มกดที่ตำแหน่ง 10.30 นาฬิกา และจับเวลานาน 30 นที บนหน้าปัดย่อยที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

Men's Grand Complications Ref. 5339R-001


เป็นรุ่นต่อยอดจากการตีความใหม่ของนาฬิกาข้อมือระดับตำนานเช่นกันอย่าง Ref.3939H ซึ่งรุ่นนี้นำมาบรรจุด้วยกลไกไขลาน Calibre R TO 27 PS คู่เอสเคปเมนต์ทูร์บิญองและระบบตีระฆังบอกนาที ด้วยชุดระฆัง 2 ชุด กระตุ้นโดยตัวเลื่อนติดตั้งไว้ด้านข้างตัวเรือน ทำงานด้วยความถี่ 21,600 ครั้ง/ชั่วโมง สำรองพลังงานได้สูงสุด 48 ชั่วโมง ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนกลไกรวม 336 ชิ้น และทับทิม 28 เม็ด แสดงเวลาได้อย่างเที่ยงตรงระดับโครโนมิเตอร์ รับรองโดยประกาศนียบัตร COSC โดยแยกบอกวินาทีไว้บนหน้าปัดเล็กที่ 6 นาฬิกา ในตัวเรือนทองชมพูสีกุหลาบ ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นเป็น 36.4 มิลลิเมตร ป้องกันฝุ่นและความชื้นได้เท่านั้น แต่ไม่กันน้ำ

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Patek Philippe Split-seconds mono pusher chronograph Ref.5950A



นาฬิกา
บรรจุด้วยกลไกไขลาน CHR 27-525 PS บางพิเศษ จับเวลาแบบสปลิทเซกันด์หรือจับเวลาของสองสิ่งได้พร้อมๆ กัน ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2005 ด้วยความหนาเพียง 5.25 มิลลิเมตร ถือว่าเป็นกลไกโครโนกราฟที่บางที่สุดเท่าที่เคยผลิตมา และเป็นการประดิษฐ์ชุดต่อชุด ในตัวเรือนทรงสี่เหลี่ยมมนหรือ cushion ทำจากสเตนเลสสตีล ขนาด 37.0 x 37.0 มิลลิเมตรกันน้ำได้ลึก 30 เมตร ผนึกกระจกคริสตัลแซพไฟร์ทั้งบนหน้าปัดและฝาหลัง เผยให้เห็นการทำงานของกลไกภายใน หน้าปัดแกะสลักอย่างประณีต มาพร้อมสายหนังจระเข้สีน้ำตาลเย็บตะเข็บมือ

จากหนังสือ GM-WATCH