แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นาฬิกาควอตซ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นาฬิกาควอตซ์ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

นาฬิกาควอตซ์นั้นถ้าไม่ได้ใช้ ควรที่จะต้องดึงเม็ดมะยมออกไม่ทราบว่าจริงเท็จแค่ไหน อย่างไร ?


นาฬิกาควอตซ์ นั้นถ้าไม่ได้ใช้ ควรที่จะต้องดึงเม็ดมะยมออกเพื่อไม่ให้เครื่องทำงาน อันเป็นการยืดอายุถ่านให้ใช้ได้นานยิ่งขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียเงินค่าถ่านบ่อยๆ ไม่ทราบว่าจริงเท็จแค่ไหน อย่างไร ?
เครื่องนาฬิกาควอตซ์มีแหล่งพลังงานคือแบตเตอรี่ ผู้ผลิตได้ออกแบบระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ให้ตัดการทำงานเพื่อลดอัตราการกินกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่อันเป็นการยืดอายุของนาฬิกาให้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยดึงเม็ดมะยมออกมาในตำแหน่งตั้งเข็ม ซึ่งทำให้ตัวจักรทุกตัวถูกล็อกให้หยุดความเคลื่อนไหว แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ก็จะใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่น้อยลง เนื่องจากความต้องการกระแสไฟฟ้าเพียงพอเพื่อเลี้ยงวงจรให้มีไฟฟ้าวิ่งอยู่เท่านั้น

                ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้ว การดึงเม็ดมะยมน่าจะช่วยยืดอายุของแบตเตอรี่และเครื่องได้ แต่ความจริงแล้วการดึงเม็นมะยมออกจะยืดอายุของแบตเตอรี่และเครื่องได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาเนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุของแบตเตอรี่ แบตเตอรี่บางยี่ห้อ ถึงแม้ว่ามีกระแสไฟฟ้าอยู่ แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง จะเกิดการรั่วซึมของสารเคมีที่อยู่ในแบตเตอรี่ โดยเฉพาะแบตเตอรี่แบบ Silver Oxide (ซิลเวอร์ออกไซด์) อันอาจก่อให้เกิดอันตรายขั้นต้องเปลี่ยนแผงวงจรใหม่   โดยระยะเวลาการรั่วซึมมักใกล้เคียงกับเวลาที่กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ใกล้จะหมด ในการปล่อยให้นาฬิกาเดินตามปกติซึ่งกินเวลาประมาณ 1-3 ปี ดังนั้นหากดึงเม็ดมะยมไว้เพื่อหยุดการทำงานของนาฬิกา หากเกิดการรั่วซึมขึ้นมาก็จะมาสามารถบอกได้ เนื่องจากไม่ทราบว่าแบตเตอรี่ก้อนนั้นใกล้จะหมดหรือยัง
                นอกจากนี้นาฬิกาควอตซ์ยังมีส่วนที่เป็นจักรกล คือระบบจักรถ่ายทอดกำลัง ซึ่งต้องมีการใช้น้ำมันหล่อลื่น และถูกออกแบบมาภายใต้สภาวะการร์เดินหรือการทำงานตามปกติ คือเดินอย่างต่อเนื่อง การที่เราหยุดมันเป็นเวลานานๆ น้ำมันหล่อลื่นเหล่านี้อาจจะสูญเสียคุณสมบัติในการหล่อลื่นและเกิดการแข็งตัวขึ้น ทำให้ระบบจักรถ่ายทอดกำลังถูกยึดไว้จากนำมันหล่อลื่นที่แข็งตัว ซึ่งเมื่อเรากดเม็ดมะยมลงไปแล้ว นาฬิกาก็ยังไม่ทำงาน ทำให้ต้องส่งให้ช่างล้างทำความสะอาดน้ำมันหล่อลื่นที่แข็งตัวนั้นออก และหยดน้ำมันหล่อลื่นเข้าไปใหม่
                ดังนั้น เราควรปล่อยให้นาฬิกาเดินตามปกติ และเปลี่ยนแบตเตอรี่ตามระยะเวลาที่กำหนดของนาฬิกานั้นดีกว่า จะช่วยลดความเสี่ยงอันเกิดจากการที่น้ำกรดรั่วซึมจากตัวแบตเตอรี่เอง และปัญหาจากการที่ตัวเครื่องจักรติดเนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นหมดสภาพ หากไม่ต้องการใช้นาฬิกาเรือนนั้นจริงๆ ก็ควรส่งให้ช่างถอดแบตเตอรี่ออกเสีย เมื่อใดที่ต้องการใช้มันอีกจึงค่อยให้ช่างใส่ให้ใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงของความเสียหายที่อาจเกิดกับแผงวงจรอันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่รั่วซึม
 ***เครดิต จากหนังสือ Watch World-Watch

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เปิดตำนานนาฬิกาควอตซ์ตอนที่1



นาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาที่ใช้ถ่านเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในปี 1927 แต่มีขนาดใหญ่มากขนาดต้องใช้รถบรรทุกเล็กขน ยุคสงครามที่ตามมาเป็นปัจจัยเร่งให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างรวดเร็วพอถึงสงครามโลกครั้งที่สอง การสื่อสารทางการทหารมีการพัฒนาใช้แร่ควอตซ์ Quartz Crystal Oscillators เป็นมาตรฐานย่านความถี่อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว หลังสงครามสิ้นสุดลง คุณสมบัติของแร่ควอตซ์
จึงถูกนำมาใช้กับนาฬิกาในการสร้างความถี่และพัฒนาให้นาฬิการะบบควอตซ์มีขนาดเล็กลง บริษัทแรกๆ ที่เริ่มลงมือพัฒนาก็คือ Suwa Seikosha จากแดนอาทิตย์อุทัยซึ่งในภานหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Seiko นั่นเองและอีกบริษัทหนึ่งก็คือ Hamilton จากฝั่งอเมริกา ทางฝั่งสวิตเซอร์แลนด์ก็ไม่น้อยหน้าคือมีการรวมกลุ่มกันพัฒนาร่วมกันได้แก่ Ebauche SA, Le Coultre, Mido, Rolex, Tissot เป็นกลุ่มผู้ร่วมค้าภายใต้ชื่อ Centre Electronic Horloger (CEH) เพื่อร่วมกันพัฒนาเครื่องนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการใช้งาน ในขณะที่ Girard Perregaux เลือกที่จะฉายเดี่ยวโดยการสร้างแผนวิจัยของตนเองขึ้นมา

ผลปรากฏว่า Seiko ประสบผลสำเร็จเป็นแบรนด์แรกเฉือนสวิสและอเมริกาไปนิดเดียวด้วย Seiko Astron นาฬิกาข้อมือควอตซ์รุ่นแรกของโลกซึ่งวางขายที่กรุงโตเกียวในวันคริสต์มาสปี 1969 ด้วยราคาที่แพงถึง 450,000 เยน หรือเทียบเท่ารถเก๋งโตโยต้ารุ่นธรรมดาในช่วงนั้น

โปรดติดตามตอนต่อไป..