วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Alpina Re-discovering of Aviation Heritage




การโบยบินครั้งใหม่‏
หลังจากที่นาฬิกา Alpina ได้กลับเข้าสู่โลกแห่งนาฬิกานักบินอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวคอลเลคชั่น Startimer Pilot อย่างยิ่งใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในเจนีวาด้วยการพาแขกและสื่อมวลชน ขึ้นเครื่องบินเ็ท Cessna Citation Mustang ของ PrivatAirบินมาจากนครเจนีวาขึ้นชมทัศนียภาพรอบเทือกเขาแอลป์เฉียดยอดเขา มงต์บลองก์และแมตเตอร์ฮอร์นกันมาแล้วนาฬิกาคอลเลคชั่น นี้ก็บินลัดฟ้ามาให้ชาวไทยได้เป็นเจ้าของกันอย่างรวดเร็วเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาในงาน สยามพารากอนว็อตช์เอ็กซ์โปโดยประเดิมด้วยรุ่น Startimer Pilot Automatic แบบ 3 เข็มซึ่งหลายท่านคงมีโอกาสได้สัมผัส และอาจจะคาดอยู่บนข้อมือของผู้อ่านบางท่านเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วย TomY


การ ออกแบบของคอลเลคชั่นนี้เป็นการนำรูปลักษณ์ดั้งเดิมของนาฬิกาสำหรับนักบินทีื Alpina เคยผลิตขึ้นในยุค 1920 และ 1930 มาผสมผสานเข้ากับดีไซน์สมัยใหม่ได้อย่างลงตัวและสามารถถ่ายทอดตัวตนแห่งความ เป็น Alpina ออกมาได้อย่างชัดเจน
และสำหรับบางท่านที่รอดูตัวจริงของนาฬิกาโครโนกราฟในคอลเลคชั่น Startimer Pilot นี้ก็มีข่าวดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า Startimer Chronograph ได้มารออยู่ที่เคาน์เตอร์ของ Alpina ให้ท่านไปลองทาบบนข้อมือแล้ว



Startimer Chronograph มาในตัวเรือน Steel ขนาด 44 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับรุ่น 3 เข็มหน้าปัดสีดำด้านตัดกับเข็มชั่วโมงและนาทีเคลือบสารเรืองแสงสีขาว มีอินเด็กซ์ชั่วโมงเป็นตัวเลขขนาดใหญ่เคลือบสารเรืองแสงสีขาวเช่นกัน ส่วนหัวของเข็มวินาทียังโดดเด่นด้วยสัญลักษณ์ทรง 3 เหลี่ยม อันเป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์ที่แต้มด้วยสีแดงอีกด้วย ทำงานด้วยเครื่องขึ้นลานอัตโนมัติโครโนกราฟ AL-860 ที่สามารถสำรองพลังงานได้ 42 ชั่วโมง พร้อมโรเตอร์เคลือบ PVD ดำสุดเคร่งขรึม ซึ่งมองเห็นได้ผ่านทางฝาหลังกระจกใส มีทั้งสายหนังสีดำ หรือสาย Steel ให้เลือกเป็นเจ้าของ
นาฬิการุ่นนี้ถูกผลิตขึ้นในจำนวนจำกัดเพียง 8,888 เรือนทั่วโลก บรรจุอยู่ในแพคเกจหรูร่วมกับโมเดลเครื่องบิน Cessna Citation Mustang คาดสีสันของ PrivatAir เพื่อระลึกถึงความร่วมมือของแบรนด์ Alpina กับบริษัทชั้นนำทั้ง 2 แห่งในครั้งนี้ด้วย

บทความดีๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
QP-DEVOTED TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue 39 September

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สิบสุดยอดนาฬิกาโครโนกราฟวินเทจที่นักสะสมปรารถนา‏

.Breguet Type XX รุ่นแรก
.Breitling Navitimer ปี 1960-1965
.Breitling Top-Time
.นาฬิกาทหารเยอรมัน Heuer Bundeswehr ยุค 1970 หรือที่เรียกว่า '3H'
.Lemania กองทัพเรืออังกฤษ ยุค 1950
.Omega Speedmaster Professional ก่อนปี 1968
.Panerai Mare Nostrum ยุค 1990
.Patek Philippe Reference 1463
.Rolex Zerograph
.Universal- Geneve Space Compax



นาฬิกาโครโนกราฟจับเวลายังคงครองจิตใจของนักสะสมจำนวนมากได้ แม้ในวันนี้โลกเราจะมีนาฬิกาจับเวลาควอตซ์ความเที่ยงตรงสูงมากมาย ทั้งยังมีแอพในโทรศัพท์ที่จับเวลาได้เหมือนกันอีก และที่เป็นสุดยอดแห่งสุดยอดของวงการจับเวลาก็คือ


นาฬิกาจับเวลาแบบสปลิทเซ็กเกินด์ครับ เพราะสามารถจับเวลา 2 สิ่งที่เริ่มต้นพร้อมกันได้ นักสะสมบางคนก็จะชอบเครื่องที่เป็นกลไกคอลัมวีลมากกว่าแบบโอเวอร์แคม และเมื่อไม่นานมานี้ แบรนด์อย่าง TAG Heuer, Montblanc และ Breitling ก็ออกนาฬิกาจับเวลาที่มีมาร์คเกอร์แบบติดตรึงอยู่กับที่ออกมาและไม่มีเข็มกวาดไปรอบๆ แบบปกติ แต่จะใช้จานหมุนเพื่อช่วยจับเวลาแทน Patek Philippe และ Rolex




ก็มีเครื่องนาฬิกาจับเวลาอินเฮ้าส์เป็นของตนเองแล้วตั้งแต่เมื่อราว 10 ปีก่อน และเมื่อไม่นานมานี้ Breitling ก็เปิดตัวเครื่องนาฬิกาจับเวลาอินเฮ้าส์รุ่นใหม่ถอดด้าม ส่วนเครื่องนาฬิกาจับเวลาของ Bremont นั้น ก็บรรจุอยู่ในกรงฟาราเดย์เพื่อปกป้องตัวเครื่องจากแรงกระทำของสนามแม่เหล็ก


เมื่อปีที่แล้ว Zenith ก็นำเสนอเครื่องนาฬิกาจับเวลาที่มีความละเอียดถึง 1/10วินาทีออกมา และที่งาน Baselworld 2011 ปีนี้ TAG Heuer ก็เผยโฉมนาฬิกาจับเวลาจักรกลเรือนแรกของโลกที่สามารถจับเวลาได้ละเอียดถึง1/1000 วินาที และในงานเดียวกันนี้เองเราก็ได้เห็นการกลับมาอย่างงดงามของนาฬิกาจับอวลาเรือนเด่นจาดอดีตอีกด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็น Heuer Monza Breitling Transocean และ Glycine SST ทั้งหมดสวยงามไร้ที่ติจรองๆครับ



บทความดีๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
QP-DEVOTED TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue 39 September



วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

HAMILTON Khaki Conservation Auto Chronograph



Hamilton
เผยเรือนเวลาคอลเลกชั่นล่าสุดที่เปิดตัวพร้อมโปรเจ็กต์พิเศษเพื่อสิ่งแวดล้อมกับ Conservation International หรือ CI องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีพระเอกฮอลลีวูดชื่อดัง Harison Fordมีส่วนร่วมเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการขับเคลื่อน และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมดีๆ Hamiltonจึงสร้างสรรค์คอลเลกชั่นพิเศษสำหรับโอกาสนี้โดยเฉพาะ กับ Khaki Conservation Auto Chrono ในดีไซน์วินเทจ ที่สัมผัสได้ถึงกลิ่นอายสปอร์ตคลาสิกของตัวเรือนสเตนเลสสตีลขนาด42.0มิลลิเมตร


เม็ดมะยมและปุ่มกดแบบหัวหอม เสริมความคลาสิกด้วยการเซาะวงแหวนขอบตัวเรือนเป็นร่งรอยถี่อย่างปราณีต เข้ากับพื้นหน้าปัดสีวินเทจเบจ แสดงเวลาแบบ2เข็มครึ่ง โดยแสดงฟังก์ชั่นจับเวลาผ่านเข็มวินาธีร่วมกับหน้าปัดย่อยจับเวลาหน่วยนาทีที่ตำแหน่ง3นาฬิกา เสริมด้วยช่องหน้าต่างแสดงวันที่ ณ 6นาฬิกาดูลงตัว



ควบคุมการทำงานด้วยกลไกออโตเมติกโครโนกราฟCal.H31ซึ่งเป็นชุดจักรกลใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาล่าสุด สามารถสำรองพลังงานได้60ชั่วโมง พร้อมคุณสมบัติต่อต้านสนามแม่เหล็ก
ได้เท่และยังสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

FRANCK MULLER Cintree Curvex Black Croco



เสน่ห์แห่งจระเข้ดำ

มนต์เสน่ห์แห่งสีดำ ได้กลายเป็นแรงผลักดันในการสร้างสรรค์คอลเลกชั่นล่าสุดของFranck Muller (แฟรงค์ มูลเลอร์) กับ Cintree Curvex Black Croco (แซนแทร คูร์เวซ์ แบล็ก คร็อกโค) ที่เผยโฉยพร้อมเสน่ห์คลาสิกลึกล้ำอันสัมผัสได้ถึงความลงตัวในทุกองค์ประกอบ ผ่านตัวเรือนทรงถังเบียร์ดีไซน์โค้งรับแนวข้อมือ ขนาด39.6X55.4มิลลิเมตร หนา11.9มิลลิเมตร ผลิตจากสเตนเลสสตีลเคลือบPVDสีดำสนิทแบบด้านสลับเงา สร้างสรรค์เป็นลวดลายหนังจระเข้แบบ3มิติ เป็นเสน่ห์ความดำอันน่าค้นหา รับกับพื้นหน้าปัดสีดำที่ทำเป็นลายหนังจระเข้เช่นเดียวกัน อวดความโดดเด่นของเข็มชี้และตัวเลขอารบิคหรือโรมันซึ่งเคลือบด้วยสารเรืองแสง เรียบง่ายกับการแสดงเวลาแบบ3เข็มควบคุมการทำงานด้วยกลไกอัตโนมัติCal.8880 SCที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนทั้งสิ้น158ชิ้น พร้อมทับทิมการสึกหรอ21เม็ด สำรองพลังงานได้42ชั่วโมง ขัดแต่งลายตามรูปแบบCotes de Geneve (โกตส์ เดอ เฌอแนฟ) รองรับอารมณ์อย่างต่อเนื่องกับสายหนังจระเข้สีดำ เชื่อว่าหลายคนจะหลงรักจระเข้สีดำตัวนี้


วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

L-evolutuion Semainier Grande Date 8 Jours




BLANCPAIN
ศักยภาพแห่งพลัง
จากความสำเร็จในการเปิดตัวคอลเลกชั่น L-evolutuion (แอลเอโวลูชั่น) ในปี 2009 ล่าสุด
BLANCPAIN (บลองแปง) ย้ำกระแสความสำเร็จอย่างต่อเนื่องกับเรือนเวลาดีไซน์สปอร์ตกระชากใจที่เปี่ยมาด้วยพลังอันเข้มข้น L-evolutuion Semainier Grande Date 8 Jours (อาลเอโวลูซิยง เซมายนิเยร์ กรองด์ ดาท อวิต ฌูร์) นำเสนอผ่านสองอารมร์ทางเลือกสเตนเลสตีล หรือความหรูหราของทองชาด18Kในขนาด43.5มิลลิเมตร หนา13.4มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยพื้นหน้าปัดขัดลาย Geneva wave (เจนีวา เวฟ) อย่างปราณีต สะดุดตากับเลขโรมัน3และ9ขนาดใหญ่เคลือบด้วยสารเรืองแสง เจาะช่องหน้าต่างแสดงวันที่แบบBig Date (บิ๊กเดท) ที่6นาฬิกา นอกจากนี้ยังแสดงวันและระดับพลังงานสำรองซ้อนกันอยู่ที่12นาฬิกาและแสดงสัปดาห์ในรอบ1ปีด้วยเข็มวงเดือนที่ชี้แสดงบนขอบหน้าปัดอีกด้วย ควบคุมการทำงานด้วยกลไกออโตเมติกCal.37R8Gขนาดบางพิเศษเพียง4.57มิลลิเมตร ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนจำนวน299ชิ้น รวมกับทับทิม46เม็ด พร้อมความสามารถในการสำรองพลังงานนานสูงสุด192ชั่วโมงหรือ8วัน สามารถชมการทำงานอันเปี่ยมสมรรถภาพของกลไกนี้ได้ผ่านฝาหลังคริสตัลแซฟไฟร์มาพร้อมสายหนังจระเข้เพิ่มดีกรีสปอร์ต สะท้อนถึงพลังและคุณภาพอันสมบูรณ์แบบ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

IWC-Plastiki เรือนเวลานักบุกเบิก‏



ชีวิตคือการค้นหา แม้สิ้นแขนขาแต่จิตใจต้องก้าวไปข้างหน้าต่อไป นั่นคือปรัชญาการให้กำลังใจที่แสนคลาสสิก และมนุษย์นับล้านก็นำมายึดเหนี่ยวและก้าวตามกันอย่างแข็งขัน ค้นหาความจริงวิ่งไล่ความฝัน บุกเบิกฟันฝ่าตามหาสิ่งใหม่ๆ ให้แก่โลกได้รับรู้ และหาผลประโยชน์พร้อมอนุรักษ์
เช่นกันกับโครงการสำรวจธรรมชาติครั้งใหญ่อย่าง พลาสติกิ (Plastiki) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างยอดแบรนด์แสนผจญภัย ไอดับเบิลยูซี (IWC) ที่ให้การสนับสนุน นักสำรวจแห่งยุคหนุ่มชาวอังกฤษ เดวิด เดอ รอธไชลด์ (David de Rothschild)มัน่ย่ย 33 ปี ที่เดินทางไกลจากซานฟรานซิสโก ( San Francisco) สหรัฐอเมริกา มุ่งหน้ายังซิดนีย์ (Sydney) ออสเตรเลีย (Australia)



นอกจากระยะทางค่อนโลกแสนไกลแล้ว ความสนใจของโครงการนี้ยังมีหลายประการ เริ่มจากพาหนะที่ต่างจากเรือธรรมดาทั่วไป เพราะ Plastiki คือเรือประเภท คาตามาแรน (Catamaran) หรือเรือใบที่มีลำเรือ 2 ลำ หนักกว่า 12 ตัน ที่สำคัญลอยตัวได้ด้วยขวดพลาสติกที่ผ่านการใช้งานบ้างก็ไม่สมประกอบมารวมตัวกันกว่า 12,500 ขวด เดินทางอาศัยพลังงานธรรมชาติ ทั้งพลังจากแผงโซลาเซลล์ แรงลม จักรยานกำเนิดไฟฟ้า (Bicycle Generators)
เป้าหมายหลักในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกในครั้งนี้ มีเป้าประสงค์หลักในการสำรวจธรรมชาติทั้งสำรวจหาสาเหตุภาวะโลกร้อน ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นตลอดเส้นทาง ภาวะความเป็นกรดของมหาสมุทร จำนวนทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน ซึ่งภาระกิจครั้งนี้นอกจากกัปตัน Rothschild แล้วยังมีลูกเรือชาวผู้ดีอีก 6 ชีวิต ออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมไปสิ้นสุดขึ้นฝั่งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ อ่าวซิดนีย์ แน่นอนว่าการเดินทางที่ยาวนานครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ก่อนจะนำข้อมูลจากการสำรวจมาใช้งานพร้อมเผยแพร่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม
ตลอดการทำงานครั้งนี้เรือนเวลาที่มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด ไม่ต่างจากอุปกรณ์หลักที่ David de Rothschild ใช้เสมอ นั่นก็คือ เรือนเวลา IWC-Plastiki ลิมิเต็ดเอดิชั่นรุ่นพิเศษจากครอบครัว lngenieur หรือชื่อเต็มๆ lngenieur Automatic Earth Mission ' Plastiki' (Ref.3236) ผลิตออกมาน้อยนิดเพียง 1,000 เรือนเท่านั้น เรื่องคุณสมบัติความทนทานสำหรับเผชิญโลกกว้างไม่ต้องพูดถึง (ทั้งนี้ลูกเรือทั้งหมดต่างสวมนาฬิกา IWC จากไลน์ lngenieur Automatic Earth Mission อีกด้วย)
ตัวเรือนสุดแกร่งด้วยสเตนเลสสตีล ขนาดหน้าปัด 46.0 มิลลิเมตร สายยางสีน้ำเงินออกแบบเพื่อการใส่ทำงานหนัก กันน้ำได้ลึกถึง 12 บาร์ ระบบป้องกันตัวเรือนถือว่าหนาแน่นตามต้นตำรับตระกูล lngenieur Automatic Earth Mission ผสมผสานการทำงานของสมองกล 80110 คาลิเบอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ทำโดยโรงงาน IWC เอง พร้อมด้วยเซลฟ์วินดิ้ง แถมภายในยังใช้เหล็กอ่อนเป็นตัวป้องกันแรงกระแทกอีกแรง พร้อมด้วยเครื่องป้องกันคลื่นแม่เหล็กอีกด้วย ทำงานบนความเสถียรระดับ 28,800 ครั้ง/ชั่วโมง แน่นอนว่าหน้าปัดวางทับด้วยแซพไฟร์ทั้งหน้าและหลัง ที่สำคัญฝาหลังยังแกะสลักรูปเรือ แผนที่ และเส้นทางของภารกิจ Plastiki
นอกจากจะเป็นภารกิจที่โหดเอาการและยังสร้างประโยชน์ในเรื่องสิ่งแวดล้อมแก่มนุษยชาติให้ตระหนักรู้ถึงสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ที่เราต้องอยู่ร่วมกัน ได้ทราบว่าพฤติกรรมของเราได้ทำลายธรรมชาติไปขนาดไหนแล้ว เหมือนกับที่ตัว David de Rothschild เปิดใจในการสำรวจครั้งนี้
" ในฐานะประชากรโลกที่เดินทางไปมากมาย สิ่งที่ผมเรียนรู้นอกจากตัวตนธรรมชาติแล้ว ผมเรียนรู้ว่าเราต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ในขณะที่วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ต่างส่งผลต่อธรรมชาติทั้งนั้นการเดินทางบุกเบิกหาข้อมูลไปเผยแพร่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผมพอจะทำได้ ณ ตอนนี้ สุดท้ายก็อยู่ที่เราจะแก้ไขกันอย่างไรต่อไป "
เช่นกันกับทาง จอร์ส เคิร์น (Georges Kern) CEO จาก IWC ที่เห็นพ้องกับโครงการจนเป็นที่มาในการร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ " David คือสุดยอดนักบุกเบิกและสำรวจแห่งยุคปัจจุบัน ทำให้เราได้ตระหนักถึงปัญหาของโลกในปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นและส่งผลในชั่วชีวิตของคนรุ่นเรา ซึ่งเราเองควรจะมีส่วนรับผิดชอบ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม IWC ถึงเข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ทันทีตั้งแต่ปี 2007 หวังว่าการสำรวจคั้งนี้จะทำให้สังคมได้รับรู้ว่าเราไม่สมควรจะใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองไม่รับผิดชอบอีกแล้ว "
ถือเป็นอีกแรงบันดาลใจอันยอดเยี่ยมที่ถ่ายทอดลงบนเรือนเวลาชั้นดีได้อย่างหมดจดสำหรับ IWC-Ingenieur Automatic Earth Mission 'Plastiki' เรือนนี้

อ่านข้อมูลนาฬิกาเพิ่มเติมได้ที่
GM Watch Vol.14 NO.140 SEPTEMBER 2011

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Zenith's Pioneering Spirit




หลังจากที่ Zenith ได้แบรนด์แอมบาสเดอร์คนใหม่เป็นนายพันที่มีชื่อว่า John Blashford-Snell ซึ่งเป็นนักสำรวจชาวอังกฤษที่เคยสวมใส่นาฬิกาจับเวลา Zenith El Primero ตะลุยไปทั่วโลกมาแล้วในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ทางแบรนด์จึงได้ออกแบบนาฬิกา El Primero Stratos Flyback



รุ่นใหม่ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน โดยจะผลิตในจำนวนจำกัดเพียง 500 เรือนเท่านั้น ในตัวเรือนและสายที่ทำจาก Steel ใช้หน้าปัดโทนสีเงินตัดกับวงจับเวลาสีดำ มีฟังก์ชั่นฟลายแบ็คตามชื่อรุ่น ขอบตัวเรือนหมุนได้ทิศทางเดียว และมีสเกลเทเลมิเตอร์บนขอบตัวเรือนด้านใน