วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ชาร์ตแบตเตอรี่ CTL 1616 นาฬิกาพลังงานแสงอาทิตย์หรือTough solar

ชาร์ตแบตเตอรี่ CTL1616 


เพื่อนๆที่ใช้นาฬิกาข้อมือ Casio ตะกลู Protrek หรือ G-Shock ที่ใช้แบตเตอรี่ CTL1616 ถ้าเก็บนาฬิกาไว้ในกล่องในตู้นานจนลืมหรือไม่ได้ใช้งาน(6เดือน)พอเอากลับมาใช้มันไม่ทำงานเหมือนแบตหมด อย่าเพิ่งใจร้อนเปลี่ยนถ่านนะครับลองถอดถ่านเอาออกมาชาร์ตดูก่อนสัก 12ชั่วโมงรับรองส่วนมากฟื้นคืนชีพกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

หาที่ชาร์ตจากไหน?

ที่ชาร์ตสามารถทำแบบง่ายๆโดยไปหาซื้อตัวต้านทาน หรือช่างอิเลคโทรนิคส์จะเรียกตัว R (Resistor) ค่า 4700 โอห์ม หรือ 5600 โอห์ม 1/4วัตต์ 5% มาต่อเข้าตรงขั่วบวกของอะแดปเตอร์แปลงไฟ 9V(R4700) หรือ 12V(R5600) ส่วนอีกปลายด้านหนึ่งของตัวR ต่อกับขั้วบวกของแบตเตอรี่ ขั้วลบของอะแดปเตอร์ต่อกับขั้วลบของแบตเตอรี่


ตัวต้านทานหรือตัวR มีขายตามร้านอิเลคโทรนิคส์หรือไปที่ห้างอมรใกล้บ้านราคาตัวละ1-2บาท


อะแดปเตอร์แปลงไฟ ที่ใช้กันเท่าไปขอให้แรงดัน 9-12V

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประวัตินาฬิกาดำน้ำTAG Heuer Diver


 Heuer หรือ TAG Heuer ที่เราๆท่านๆรู้จักกันนั้นมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1860 ก่อตั้งโดย Edouard Heuer ภาพลักษณ์ของแบรนด์นี้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็คือ แบรนด์นาฬิกาที่โดดเด่นด้านการจับเวลาและนาฬิกาสำหรับกิจกรรมหลายๆ รูปแบบ รวมถึงการใช้งานอย่างมืออาชีพ นาฬิกาไลน์ต่างๆของTAG Heuer ในปัจจุบันนั้นก็มีให้เลือกหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็ฯกลไกโครโนกราฟ นาฬิกาแบบสปอร์ตต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว รวมไปถึงนาฬิกาแบบสปอร์ตต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว รวมไปถึงนาฬิกาดำน้ำหลากรุ่นถ้ามองเผินๆแล้ว ไลน์นาฬิกาดำน้ำของ TAG Heuer เหมือนพึ่งจะกำเนิดมาไม่นาน แต่แท้จริงแล้ว TAG Heuer หรือ Heuer ในอดีตได้สร้างนาฬิกาดำน้ำรุ่นยอดเยี่ยมอย่าง Heuer 1000m  มาตั้งแต่ยุค 1980 แล้ว เรียกว่า นานพอที่จะกล่าวได้ว่า TAG Heuer หรือ Heuer นั้นก็ผลิตนาฬิกาสำหรับการดำน้ำมืออาชีพได้ยอดเยี่มไม่แพ้แบรนด์ใดๆ

นาฬิกาดำน้ำนั้นไม่ใช่แค่เป็นหนึ่งในไลน์ประกอบ ให้ครบรุ่นขายของ Heuer อย่างที่เข้าใจกัน แต่ยังสามารถสร้างยอดขายได้อย่างถลมทลายชนิดไม่เคยมีมาก่อน ดังที่ Jack Heuer ประธานกิตติมศักดิ์ Tag Heuer กล่าวไว้ ''ในยุคปลายปี 1970 นั้น แบรนด์นาฬิกาอื่นๆประสบปัญหาด้านยอดขายอย่างหนักแต่เรายังคงสามารถภขายนาฬิกาของเราไปได้เรื่อยๆ เพราะเราเป็นผู้นำด้านนาฬิกาสปอร์ตและจับเวลา นอกจากจะขายในร้านนาฬิกาแล้ว ก็ยังมีอยู่ในร้านอุปกรณ์กีฬาด้วย ในตอนนั้นนาฬิกาสำหรับตลาดดำน้ำนั้นเป็นการขายเฉพาะกลุ่มและไม่ได้ขายให้ง่ายๆให้กับคนทั่วไป ทำให้เรารู้ว่ามีผู้คนมากมาย ที่ต้องการนนาฬิกาที่สามารถกันน้ำได้ดีกว่านาฬิกาปกติ เราจึงเริ่มผลิตนาฬิกาสำหรับดำน้ำโดยมีชื่อบริษัทผู็ผลิตอุปกรณ์ดำน้ำอย่าง  Spirotechnique ประดับไว้บนหน้าปัด คุณเชื่อไหมว่า นาฬิกาดำน้ำของเราขายดีจนเราประสบปัญหาเรื่องการผลิตและส่งมอบเลยทีเดียว เพราะยอดขายนั้นมากมายมหาศาล''  ทีนี้ก็มาถึงพระเอกของเราที่ Heuer และ TAG Heuer ได้ผลิตออกมาในยุคปี 1980 ที่ตั้งเป้าหมายว่านาฬิกาซีรีย์นี้จะเป็นนาฬิการะดับ Super Professional หรืออีกนัยนึงก็คือ นาฬิกาสำหรับการใช้งานมืออาชีพระดับสูงนั้นเอง ที่มีขั้นตอนการผลิตละเอียดละออ ตัวนาฬิกามาพร้อมกับอุปกรณ์มืออาชีพครบชุด โดยออกแบบระหว่างปี 1982 ถึง 1992

 โดยมีทั้งกลไกควอตซ์และกลไกอัตโนมัติ และมีรุ่นพิเศษอย่าง TAG Heuer Spirotechnique ที่นักสะสมรู้จักกันป็นอย่างดี กลับมารุ่นต้นกำเนิดอย่าง Heuer 1000m Diver m ที่เปิดตัวสู่ตลาดในปี 1982 ตัวหน้าปัดและเข็มนั้น ใช้ชุดเดียวกับซีรีย์1000 เมตร และขนาดตัวเรือนจะมีขนาดใหญ่ถึง 41.5  มิลลิเมตร กระจกหน้าปัดผลิตจากมิเนอรัล คริสตัล แบบเรียบซึ่งเป็นอะไรที่แปลกอยู่เล็กๆ เพราะนาฬิกาดำน้ำในยุคนั้นจะเน้นแบบโดมนูนลอยออกมาจากหน้าปัดมากว่า และถือว่าสนาฬิการุ่นนี้เป็นนาฬิกาที่ตัวเรือนใหญ่และหนักที่สุดรุ่นหนึ่งในขณะนั้น ขอบจับเวลาบนหน้าปัดหมุนจับเวลาได้ 60 นาที เม็ดมะยมแบบขันเกลียวหมุนทำงาน 4 นาฬิกา หลังจากเข้ามาของกลุ่ม TAG (Techniquesd"Avant Garde ) ในปี 1985 ทำให้นาฬิการุ่นนี้มีตราสัญลักษณ์ว่า TAG เพิ่มเติมด้านบนของคำว่า Heuer ด้วย และรุ่น TAG Heuerb1000m ก็ถูกผลิตอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 1991 และเป็นนาฬิกาดำน้ำระดับตำนานแบบหนึ่งที่ผลิตขึ้นมาในปัจจุบัน TAG Heuer ก็ยังคงไว้ซึ่งการผลิตนาฬิกาดำน้ำอันยอดเยี่ยมอยู่เสมอมาซึ่งหลักการออกแบบนาฬิกาดำน้ำในปัจจุบัน ก็ล้วนแต่นำการพัฒนาต่อยอดจากรุ่นในอดีตแทบทั้งสิ้น รวมถึงรุ่น 100m ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไดที่คุณใส่นาฬิกาดำน้ำของ TAG Heuer ขอให้พึงระลึกเสมอว่านาฬิกาเรือนที่คุณใส่อยู่อัดแน่นด้วยนวัตกรรมและประวัติอันน่าจดจำของ TAG Heuer ครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
#หนังสือQP
#www.calibre11.com

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เปิดตำนานนาฬิกาควอตซ์ตอนที่1



นาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาที่ใช้ถ่านเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในปี 1927 แต่มีขนาดใหญ่มากขนาดต้องใช้รถบรรทุกเล็กขน ยุคสงครามที่ตามมาเป็นปัจจัยเร่งให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างรวดเร็วพอถึงสงครามโลกครั้งที่สอง การสื่อสารทางการทหารมีการพัฒนาใช้แร่ควอตซ์ Quartz Crystal Oscillators เป็นมาตรฐานย่านความถี่อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว หลังสงครามสิ้นสุดลง คุณสมบัติของแร่ควอตซ์
จึงถูกนำมาใช้กับนาฬิกาในการสร้างความถี่และพัฒนาให้นาฬิการะบบควอตซ์มีขนาดเล็กลง บริษัทแรกๆ ที่เริ่มลงมือพัฒนาก็คือ Suwa Seikosha จากแดนอาทิตย์อุทัยซึ่งในภานหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Seiko นั่นเองและอีกบริษัทหนึ่งก็คือ Hamilton จากฝั่งอเมริกา ทางฝั่งสวิตเซอร์แลนด์ก็ไม่น้อยหน้าคือมีการรวมกลุ่มกันพัฒนาร่วมกันได้แก่ Ebauche SA, Le Coultre, Mido, Rolex, Tissot เป็นกลุ่มผู้ร่วมค้าภายใต้ชื่อ Centre Electronic Horloger (CEH) เพื่อร่วมกันพัฒนาเครื่องนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการใช้งาน ในขณะที่ Girard Perregaux เลือกที่จะฉายเดี่ยวโดยการสร้างแผนวิจัยของตนเองขึ้นมา

ผลปรากฏว่า Seiko ประสบผลสำเร็จเป็นแบรนด์แรกเฉือนสวิสและอเมริกาไปนิดเดียวด้วย Seiko Astron นาฬิกาข้อมือควอตซ์รุ่นแรกของโลกซึ่งวางขายที่กรุงโตเกียวในวันคริสต์มาสปี 1969 ด้วยราคาที่แพงถึง 450,000 เยน หรือเทียบเท่ารถเก๋งโตโยต้ารุ่นธรรมดาในช่วงนั้น

โปรดติดตามตอนต่อไป..

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ฝ้าตรงหน้าปัดนาฬิกาข้อมือ

ฝ้าตรงหน้าปัดนาฬิกาข้อมือ 

หลายคนคงสงสัยว่าทำใมนาฬิกาข้อมือที่ซื้อมาเมื่อใช้ไปสักพักเกิดฝ้าเกาะที่หน้าปัดทั้ง
ที่ไม่ได้โดนน้ำเลย ลักษณะนี้ไม่ใช่น้ำเข้าครับ เกิดจากน้ำมันจักรที่หยอดมาเพื่อเพิ่มความหล่อหลื่น
ให้กับเครื่องออโตเมติกมันระเหยขึ้นมาเกาะอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุเช่นอุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือผู้ผลิต
หยอดน้ำมันมามากเกินไปแต่ไม่ต้องตกใจครับ เอาเข้าไปที่ศูนย์หรือร้านซ่อม เค้าจะทำการถอดและเช็ดให้ สำหรับนาฬิกาข้อมือไซโก้นานๆจะเจอสักตัวนึงครับ





วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

ประเภทของนาฬิกาตามกลไกการทำงาน

Mechanical & Quartz Watches


เราจะแบ่งออกตามกลไกการทำงานของมันได้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือ

A.กลุ่มนาฬิกากลไก หรือ นาฬิกาจักรกล หรือ Mechanical Watch พวกนี้คือนาฬิกาที่ใช้การเคลื่อนไหวของฟันเฟืองต่างๆ โดยแรงขับจากลานสปริง เป็นนาฬิกาที่มีมานานหลายร้อยปีแล้ว พวกนี้แบ่งย่อยออกเป็นสองกลุ่มคือ

1.นาฬิกาไขลาน(หรือไขลานด้วยมือ) หรือ Manual Winding พวกนี้คือนาฬิกาดั้งเดิมที่ใช้กันมาโดยอาศัยการไขลานให้สปริงลานตึงขึ้นและเมื่อสปริงคลายตัวก็ใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนนาฬิกาให้เดิน

2.นาฬิกาออโตเมติค หรือนาฬิกาไขลานอัตโนมัติ (หรือไขลานด้วยตัวเอง)(Automatic winding )หรือ Self winding หรือ ค่าย Rolex เรียกมันว่า Perpetual (หมายถึงตราบใดที่ยังใส่ก็ยังเดินตลอดไป) พวกนี้จะมี Rotor คอยเหวี่ยงเข้าลานให้ เราตลอดเวลาที่สวมใส่ หรืออยู่ในเครื่องหมุนเข้าลานนาฬิกา(Watch Winder) นาฬิกาพวกนี้เวลาเขย่าเบาๆ จะได้ยินเสียง Rotor มันสั่นหรือหมุนให้ได้ยิน


B.กลุ่มคือนาฬิกาควอทซ์ หรือนาฬิกาอีเลคทรอนิค หรือนาฬิกาที่ใช้แบตตารี่ หรือที่อาจารย์ Tommy แห่ง Siam Naliga เรียกว่านาฬิกาใส่ถ่าน พวกนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มให้เดินบอกเวลา หรือ รายงานผลผ่านจอ LCD หรือ หลอดไฟ LED และพวกนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอทซ์ แล้วรับสัญญาณความถี่ กลับออกมาให้ ไมโครโพเซสเซอร์ประเมินออกมาเป็นเวลา เพื่อควบคุมการเดินของเข็ม นาฬิกาพวกนี้ให้ความเที่ยงตรงสูง แถมราคาค่อนข้างถูกเพราะว่าชิ้นส่วนอีเลคทรอนิคในปัจจุบันทำได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ ทำให้ราคาไม่ค่อยแพง แต่ว่าไม่ค่อยได้รับความนิยมนิยมกันในหมู่นักเล่น นาฬิกามากนัก


 ปัจจุบันนาฬิกาในกลุ่มนี้ บางรุ่น จะมี Rotor เหวี่ยงหมุนตามการเคลื่อนไหวเวลาใช้งาน คล้ายกับนาฬิกาออโต้เมติค แต่แทนที่จะเหวี่ยงเข้าลาน มันกลับเป็นการเหวี่ยงเพื่อชาร์ตประจุไฟฟ้าไปเก็บไว้ในตัวเก็บประจุไฟฟ้า แล้วนำพลังงานไฟฟ้านี้ไปใช้กับระบบอีเลคทรอนิคแทนแบตเตอรี่ปกติ นาฬิกาพวกนี้คนที่บุกเบิกก็คือ Seiko ที่เรามักเรียกระบบนี้ตาม Seiko ว่า นาฬิกา " K i n e t i c "
นาฬิกาQuatz ในปัจจุบันยังมีการนำพลังงานจากแหล่งอื่นมาใช้ร่วมด้วยอีก เช่นใช้ Solar Cell ชาร์ตประจุไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ มาใช้เป็นต้น รวมไปถึงพวกนาฬิกา ที่ใช้พลังงานจากแรงกดอากาศ ที่ต่างกันก็มี


ล่าสุดในปัจจุบันยังมีนาฬิกา อีกระบบ ที่อยู่ตรงกลาง เป็นการผสมผสาน ระหว่าง นาฬิกาควอทซ์ และ นาฬิกาจักรกล นั่นคือ " S p r i n g D r i v e " จากค่าย Seiko เช่นกัน โดยมันเป็นนาฬิกาที่ขับเคลื่อนเฟืองและเข็มให้เดินด้วยลานเหมือนนาฬิกาจักรกลไขลานธรรมดา แต่ว่าพลังงานบางส่วนจากสปริงลานนี้จะถูกนำไปหมุนตัว Dynamo ขนาดจิ๋ว สร้างเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อป้อนให้ผลึก Quartz เพื่อนำสัญญานความถี่นั้นมาคำนวนเป็นเวลา เพื่อควบคุมการเดินของเข็มอีกที ซึ่งจะได้ความแม่นยำเที่ยงตรงสูงมากขึ้น


เปรียบเทียบความนิยม

หลายคนอาจจะรู้สึกว่าแปลก ที่ทำไมนาฬิกาจักรกล ซึ่งแพงกว่า เที่ยงตรงน้อยกว่า นาฬิกาควอทซ์ จึงได้รับความนิยมจากนักสะสมมากกว่า

 ในราวประมาณ สามสิบ ถึง สี่สิบปีก่อน เมื่อทางค่ายญี่ปุ่นคิดค้นนาฬิกาควอทซ์ ขึ้นมาได้ ตอนนั้นหลายคนคิดว่า นาฬิากาจักรกลคงถึงกาลอวสานปิดฉากลงได้แล้ว เพราะว่าความเที่ยงตรง และราคาที่ถูกกว่ามากมายเหนือกว่านาฬิกาจักรกล ที่ทำด้วยมือจากสวิสต์ (และหลายค่ายในสวิตซ์ก์ปิดตัวเองจริงๆด้วย)
แต่เมื่อผ่านเวลาแห่งความตื่นเต้นกับนวัตกรรมใหม่ไประยะนึงแล้ว คนเริ่มหันกลับหานาฬิกาจักรกลเพื่อนเก่า

 เหตุผลก็คือนาฬิกาจักรกล จะอาศัยกลไกที่ซับซ้อน ออกแบบให้ทำงานต่อเนื่อง และใช้ฝีมือในการทำปราณีตมากกว่า นาฬิกาควอทซ์ ซึ่งแค่ส่งสัญญานไฟฟ้าเข้าไปในผลึกควอทซ์ แล้วรับความถี่ออกมา แล้วใช้คอมประมวลผล ก่อนส่งไปควบคุมการหมุนของเข็ม ซึ่งทุกอย่างค่อนข้างสำเร็จรูป และตายตัวไปหมด

 ยิ่งพวกฟังชั่นพิเศษต่างๆ พวกการจับเวลา หรือ ตั้งปลุก หรือปฏิทิน นี่ง่ายมากสำหรับพวกควอทซ์ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ ในขณะที่ นาฬิกาจักรกล ต้องอาศัยการดีไซน์กลไกซับซ้อน แบบสุดยอดเลย
 ข้อเหนือกว่าอีกอย่างคือนาฬิกาจักรกล เป็นกลไก Mechanic ล้วนๆ ไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า ทำงานได้ด้วยตัวของเอง ไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่ อาจจะต้องการเพียงแค่การทำความสะอาด และหล่อลื่นเล็กน้อย นานๆครั้งเท่านั้น ทำให้ความคงทนสูงกว่าพวกควอทซ์ซึ่งมีแบตเตอรี่และวงจรอีเลคทรอนิคส์ ซึ่งพวกนี้นอกจากต้องคอยเปลี่ยนถ่านให้มันตอนหมดแล้ว ถ้าเผลอปล่อยให้มันหมดทิ้งในเครื่อง บ่อยครั้งที่แบตที่หมดอายุเสื่อมและเน่าในเครื่องทำให้เสียหายได้

อีกเหตุผลนึงที่คนเล่นนาฬิกาจักรกลชอบก็คือ เสียงกลไกของนาฬิกาจักรกลที่มันเดินขยับเคลื่อนไหว มันดังเหมือนกับจะบอกให้รู้ว่ามันมีชีวิต กำลังทำงานอยู่ ไม่เหมือนควอทซ์ ซึ่งค่อนข้างจะเงียบเฉย เย็นชา กับเจ้าของ เหลือเกิน

สรุป ก็คือ แต่ถ้าพูดเรื่องราคาและความคุ้มค่า ตลอดจนความเที่ยงตรง แน่นอนนาฬิกาควอทซ์ คุ้มค่ากว่ามากในด้านเศรษฐศาสตร์ แต่ถ้าด้านจิตใจ หลายคน ที่เป็นแฟนพันธ์แท้นาฬิกา หรือแม้แต่แฟนพันธ์เทียมอย่างผม ยังรัก นาฬิกาจักรกล มากกว่า ควอทซ์ กันเป็นส่วนใหญ่
ขอบคุณบทความดีๆจาก
http://www.2jfk.com/knowledge.htm#movement

ที่มาของชื่อเดือนไทย


ที่มาของชื่อเดือนไทย


   ที่มาของชื่อเดือนไทย แต่ก่อนอื่นของพูดถึงปฏิทินไทยคร่าวๆครับ   คำว่า”ปฏิทิน” ที่ใช้กันในปัจจุบัน สมัยก่อนสะกดว่า”ประติทิน”ตามภาษาสันสกฤต หรือ”ประฏิทิน”หรือ”ประนินทิน”ตามภาษาบาลีแผลง โดยปฏิทินไทยมีขึ้นครั้งแรกวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385 ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่3ซึ่งขณะนั้นปฏทินยังคงใช้ตามแบบจันทรคติ แต่ต่อมามีวิธีนับ วัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า”สุริยคติ” จึงประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5    เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับแต่เดือนอ้าย เดือนยี่ จนถึงเดือน 12 มาเป็นแบบสุริยคติ จึงมีการกำหนดชื่อเดือนใหม่ขึ้นโดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ หรือ “พระบิดาแห่งการต่างประเทศของไทย” พระราชโอรสอันดับที่ 42 ของรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยได้ใช้ตามสุริยคติซึ่งนับวันและเดือนแบบสากลและได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงโปรดเกล้า ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2432 เรียกว่า “เทวะประติทิน” ที่เป็นต้นแบบของปฏิทินไทยในทุกวันนี้    สำหรับชื่อเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมนั้น สมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงใช้ตำราจักรราศีหรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ใน 1 ปี ที่ประกอบด้วย 12 ราศีตามวิชาโหราศาสตร์ มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน ซึ่งแบ่งเป็นเดือนที่มี 30 วันและเดือนที่มี 31 วันอย่างชัดเจนด้วยการลงท้ายเดือน 30 วันว่า “ยม” และเดือนที่มี 31 ว่า “คม” ส่วนคำนำหน้ามาจากชื่อราศีที่ปรากฎในช่วงแต่ละเดือน เป็นการนำคำ 2 คามา “สมาส” กัน โดยคำต้นป็นชื่อราศี คำหลังคือคำว่า”อาคม”และ”อายน”ที่แปลว่า”การมาถึง”โดยมีที่มาดังนี้   มกราคม  คือ “มกร” (มังกร) สมาสกับ “อาคม” แปลว่าการมาถึงของราศีมังกร   กุมภาพันธ์  คือ “กุมภ์” (หม้อ) สาสกับ”อาพนธ” แปลว่าการมาถึงของราศีกุมภ์   มีนาคม  คือ “มีน” (ปลา) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีมีน    เมษายน คือ “เมษ” (แกะ) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีเมษ   พฤษภาคม คือ “พฤษภ” (วัว, โค) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีพฤษภ   มิถุนายน คือ “มิถุน” (ชายหนึ่งคู่) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีมิถุน   กรกฎาคม คือ “กรกฎ” (ปู) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีกรกฎ   สิงหาคม คือ “สิงห” (สิงห์) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีสิงห   กันยายน คือ “กันย” (สาวพรหมจรรย์) สมาสกับ “อายม”แปลว่าการมาถึงของราศีกันย   ตุลาคม  คือ “ตุล” (ตาชั่ง) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีตุล   พฤศจิกายน คือ “พิจิก” หรือ “พฤศจิก” (แมงป่อง) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีพิจิก   ธันวาคม คือ “ธนู” (ธนู) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีธนู


วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560