วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เปิดตำนานนาฬิกาควอตซ์ตอนที่1



นาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาที่ใช้ถ่านเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในปี 1927 แต่มีขนาดใหญ่มากขนาดต้องใช้รถบรรทุกเล็กขน ยุคสงครามที่ตามมาเป็นปัจจัยเร่งให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างรวดเร็วพอถึงสงครามโลกครั้งที่สอง การสื่อสารทางการทหารมีการพัฒนาใช้แร่ควอตซ์ Quartz Crystal Oscillators เป็นมาตรฐานย่านความถี่อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว หลังสงครามสิ้นสุดลง คุณสมบัติของแร่ควอตซ์
จึงถูกนำมาใช้กับนาฬิกาในการสร้างความถี่และพัฒนาให้นาฬิการะบบควอตซ์มีขนาดเล็กลง บริษัทแรกๆ ที่เริ่มลงมือพัฒนาก็คือ Suwa Seikosha จากแดนอาทิตย์อุทัยซึ่งในภานหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Seiko นั่นเองและอีกบริษัทหนึ่งก็คือ Hamilton จากฝั่งอเมริกา ทางฝั่งสวิตเซอร์แลนด์ก็ไม่น้อยหน้าคือมีการรวมกลุ่มกันพัฒนาร่วมกันได้แก่ Ebauche SA, Le Coultre, Mido, Rolex, Tissot เป็นกลุ่มผู้ร่วมค้าภายใต้ชื่อ Centre Electronic Horloger (CEH) เพื่อร่วมกันพัฒนาเครื่องนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการใช้งาน ในขณะที่ Girard Perregaux เลือกที่จะฉายเดี่ยวโดยการสร้างแผนวิจัยของตนเองขึ้นมา

ผลปรากฏว่า Seiko ประสบผลสำเร็จเป็นแบรนด์แรกเฉือนสวิสและอเมริกาไปนิดเดียวด้วย Seiko Astron นาฬิกาข้อมือควอตซ์รุ่นแรกของโลกซึ่งวางขายที่กรุงโตเกียวในวันคริสต์มาสปี 1969 ด้วยราคาที่แพงถึง 450,000 เยน หรือเทียบเท่ารถเก๋งโตโยต้ารุ่นธรรมดาในช่วงนั้น

โปรดติดตามตอนต่อไป..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จริงหรือไม่ที่ว่านาฬิกานั้นเป็นแค่เครื่องบอกเวลาหรือเครื่องประดับ

 ก่อนที่ทุก ๆ ท่านจะอ่านบทความนี้ ผมมีคำถามเล็ก ๆ สำหรับทุก ๆ คน โดยขอท่านตั้งคำถามสำหรับตัวท่านในใจว่า นาฬิกาที่อยู่บนข้อมือของท่านที่...