วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

GRAHAM Chronofighter Oversize GMT

ล้ำขีดจำกัดของ นาฬืกา

สัญชาตญาณแห่งความแรงถูกปลุกขึ้นอีกครั้ง เมื่อGraham (แกรห์ม) นาฬิกาข้อมือ แบรนด์สปอร์ตสุดขีดสัญชาตญาณอังกฤษ ยังคงรักษาคอนเซ็ปต์ความแรงกับเรือนเวลาสไตล์จัมโบ้ (โครโนไฟเตอร์ โอเวอร์ไซส์ จีอ็มที) สนองมาดแมนบนข้อมือชายหนุ่มด้วยตัวเรือนขนาด 47.0 มิลลิเมตร หนา 16.0 มิลลิเมตร ผลิตจากสแตนเลสสตีล ออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์และโดดเด่นด้วยกระเดื่องกดจับเวลาทางฝั่งซ้าย ซึ่งทำหน้าที่เป็นบ่าปกป้องเม็ดมะยมไปในตัว ตกแต่งขอบตัวเรือนด้วยสเกลเวลา 24 ชั่วโมง พื้นหน้าปัดสีดำ แสดงเวลาแบบ 2 เข็มพร้อมจับเวลาผ่านเข็มวินาทีร่วมกับหน้าปัดย่อยที่ 9 นาฬิกา นอกจากนั้นยังมีเข็มโปร่งหัวลูกศรทำหน้าที่แสดงเวลาไทม์โซนที่ 2 ในแบบ 24 ชั่วโมงอย่างโดดเด่น เติมเต็มความสมบูรณ์ด้วยช่องหน้าต่างแสดงวันที่ขนาดใหญ่ใต้ตำแหน่งเวลา 12 นาฬิกา ควบคุมการทำงานด้วยกลไกออโตเมติกโครโนกราฟ แบบ “Bi-Compax” (ไบคอมแพ็กซ์) Cal.G1733 เลือกประกอบกับสายยางหรือสายหนังตามต้องการ เป็นความแรงแบบเท่ๆที่กระแทกใจชายหนุ่มได้ตรงเป้า

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

นาฬิกาข้อมือ เครื่อง 1จังหวะ และ 2จังหวะ

มารู้จักเครื่อง 1จังหวะ และ 2จังหวะในนาฬิกาไขลานหรือออโตเมติกที่ขึ้นลานได้ เริ่มที่เครื่อง 1จังหวะหรือจังหวะเดียวนั้นโดยปรกติเม็ดมะยมจะอยู่ในตำแหน่งขึ้นลานได้ด้วยมือหรือฟรีแล้วแต่เครื่อง รุ่นนั้นๆ เมื่อต้องการตั้งเวลาให้ดึงเม็ดมะยมออกมา ไม่สามารถตั้งวันที่แบบเร็วได้ ต้องหมุนเข็มชั่วโมงให้ผ่านไปเรื่อยๆจนวันที่เปลี่ยนค่า ซึ่งมักพบเห็นได้ในนาฬิการุ่นเก่า เครื่อง 2จังหวะโดยปรกติเม็ดมะยมจะอยู่ในตำแหน่งขึ้นลานได้ด้วยมือหรือฟรีแล้วแต่เครื่อง รุ่นนั้นๆ และเมื่อดึงเม็ดมะยมออกมาหนึ่งระดับจะสามารถตั้งวันและวันที่ได้โดยรวดเร็ว ถ้าต้องการตั้งเวลาให้ดึงเม็ดมะยมออกมาอีกหนึ่งระดับ ซึ่งจะพบเห็นในนาฬิกาข้อมือยุคปัจจุปันส่วนมาก เนื่องจากให้ความสะดวกรวดเร็วและช่วยยืดอายุกลไกภายในตัวเครื่องที่ไม่ต้องหมุนตั้งวัน วันที่กันหลายๆรอบ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

แบตเตอรี่นาฬิกาข้อมือ

แบตเตอรี่นาฬิกาข้อมือ

เกือบทุกท่านคงเคยเห็นแล้วรู้จัก หรือคุ้นเคยกับแบตเตอรี่หรือv วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมันมากขึ้นอีกสักนิด แบตเตอรี่ชนิดนี้จะมีลักษณะทรงกลม ความหาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรุ่นของแบตเตอรี่นาฬิกา ที่ตัวแบตเตอรี่ จะพิมพ์แสดงรหัสมีทั้งตัวหนังสือและตัวเลข ตัวหนังสือจะแทนวัสดุที่ใช้ผลิตและแรงดันไฟฟ้าส่วนมากประมาณ 1.5-3 V ส่วนตัวเลขก็แทนเส้นผ่านศูนย์กลาง และความหนา สำหรับแบตเตอรี่นาฬิกาข้อมือ ที่พบเห็นบ่อยๆ LR = Alkaline, at 1.5V SR = Silver Oxide, at 1.55V (ความจุจะสูงกว่าและเสถียรกว่า Alkaline) CR = Lithium/manganese dioxide, at 3V BR = Lithium carbon monofluoride, 3 V, (ใช้ในที่อุณหภูมิสูงๆได้ดี) ตัวอย่าง CR2025 คือ Lithium แรงดัน 3V ขนาด 20mm หนา 2.5mm

Tips -เลือกใช้งานแบตเตอรี่นาฬิกาให้ตรงรุ่น -เมื่อแบตเตอรี่นาฬิกาหมดให้รีบเปลี่ยนใหม่หรือถอดออก -แบตเตอรี่ใหม่ที่นำมาใช้งานควรมีอายุไม่เกิน 1ปี

เครดิตเว็บ G-Shock ดูเวลาดอทคอม

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

นาฬิกาข้อมือ Casio G-shock G-1200BD-1ADR New Tough Solar

New คาสิโอ G-shock Tough Solar

นาฬิกาผู้ชาย หน้าปัดสีดำ เข็มและหลักบอกเวลาสีฟ้า สายสะแตนเลสรมดำ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีโหมด PowerSafe ประหยัดพลังงาน เมื่อเปิดใช้งานโหมดนี้ จะหยุดเดินเซฟพลังงานเมื่ออยู่ในที่มืด เมือเจอแสงสว่างจะกลับมาทำงานโดยอัตโนมัติ พร้อมตั้งเวลา นาฬิกาข้อมือ สปอร์ตเรือนใหญ่ ทนทานสมบุกสมบัน กันกระเทือน กันน้ำ 200M บอกเวลา 29เมืองใหญ่ทั่วโลก จับเวลา,ตั้งปลุก ระบบปฏิทินอัตโนมัติ ถึงปี 2099 มีเสียงเตือนเมื่อระดับพลังงานเหลือน้อย พลังงานสำรองนาน 5เดือน ถ้าเปิดโหมด PowerSafe อยู่ได้ 26เดือน

ขนาดตัวเรือน 52mm X 49mm X 15mm น้ำหนัก 124g

G-1200BD-1ADR

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

นาฬิกาข้อมือ Seiko The Jungle Sports Automatic SKZ211K1

Seiko The Jungle Sports Automatic SKZ211K1

นาฬิกาข้อมือจักรกลอัตโนมัติรูปทรงสปอร์ต มาดมั่นบึกบึน ขอบหน้าปัดสามารถหมุนเพื่อแสดงทิศทาง เครื่อง 7S36 ทับทิม 23 เม็ด ตัวเรือน 43 mm(ไม่รวมเม็ด) และสายทำจากสเตนเลสคุณภาพสูงจากไซโก้ เม็ดมะยมเกลียว ฝาหลังเกลียว กันน้ำ 200 เมตรแฟนไซโก้ ที่รักการผจญภัยและนาฬิกาตัวใหญ่ไม่ผิดหวังครับ

แพ็คเก็จประกอบด้วยกล่อง คู่มือใบรับประกัน และผ้าเช็ดนาฬิกาจากไซโก้

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ที่มาของชื่อเดือน(ไทย)

มารู้จักที่มาของชื่อเดือนไทยกัน แต่ก่อนอื่นของพูดถึงปฏิทินไทยคร่าวๆครับ คำว่า”ปฏิทิน” ที่ใช้กันในปัจจุบัน สมัยก่อนสะกดว่า”ประติทิน”ตามภาษาสันสกฤต หรือ”ประฏิทิน”หรือ”ประนินทิน”ตามภาษาบาลีแผลง โดยปฏิทินไทยมีขึ้นครั้งแรกวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385

ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่3ซึ่งขณะนั้นปฏทินยังคงใช้ตามแบบจันทรคติ แต่ต่อมามีวิธีนับ วัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า”สุริยคติ” จึงประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับแต่เดือนอ้าย เดือนยี่ จนถึงเดือน 12 มาเป็นแบบสุริยคติ จึงมีการกำหนดชื่อเดือนใหม่ขึ้นโดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ หรือ “พระบิดาแห่งการต่างประเทศของไทย” พระราชโอรสอันดับที่ 42 ของรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยได้ใช้ตามสุริยคติซึ่งนับวันและเดือนแบบสากลและได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงโปรดเกล้า ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2432 เรียกว่า “เทวะประติทิน” ที่เป็นต้นแบบของปฏิทินไทยในทุกวันนี้ สำหรับชื่อเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมนั้น สมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงใช้ตำราจักรราศีหรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ใน 1 ปี ที่ประกอบด้วย 12 ราศีตามวิชาโหราศาสตร์ มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน

ซึ่งแบ่งเป็นเดือนที่มี 30 วันและเดือนที่มี 31 วันอย่างชัดเจนด้วยการลงท้ายเดือน 30 วันว่า “ยม” และเดือนที่มี 31 ว่า “คม” ส่วนคำนำหน้ามาจากชื่อราศีที่ปรากฎในช่วงแต่ละเดือน เป็นการนำคำ 2 คามา “สมาส” กัน โดยคำต้นป็นชื่อราศี คำหลังคือคำว่า”อาคม”และ”อายน”ที่แปลว่า”การมาถึง”โดยมีที่มาดังนี้ มกราคม คือ “มกร” (มังกร) สมาสกับ “อาคม” แปลว่าการมาถึงของราศีมังกร กุมภาพันธ์ คือ “กุมภ์” (หม้อ) สาสกับ”อาพนธ” แปลว่าการมาถึงของราศีกุมภ์ มีนาคม คือ “มีน” (ปลา) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีมีน เมษายน คือ “เมษ” (แกะ) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีเมษ พฤษภาคม คือ “พฤษภ” (วัว, โค) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีพฤษภ มิถุนายน คือ “มิถุน” (ชายหนึ่งคู่) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีมิถุน กรกฎาคม คือ “กรกฎ” (ปู) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีกรกฎ สิงหาคม คือ “สิงห” (สิงห์) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีสิงห กันยายน คือ “กันย” (สาวพรหมจรรย์) สมาสกับ “อายม”แปลว่าการมาถึงของราศีกันย ตุลาคม คือ “ตุล” (ตาชั่ง) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีตุล พฤศจิกายน คือ “พิจิก” หรือ “พฤศจิก” (แมงป่อง) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีพิจิก ธันวาคม คือ “ธนู” (ธนู) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีธนู





***ที่มา หนังสือ Watch World-Wide

วิธีการดู ซีรี่นัมเบอร์ไซโก้


สำหรับบางท่านที่ ยังไม่รู้ มีวิธีการดู ซีรี่นัมเบอร์ไซโก้ ก็ประมาณนี้ครับเลขตรงฝาหลัง ด้านล่าง 074372เลขตัวแรก 0 หมายถึง ตัวเลขหลักสุดท้ายปีที่ผลิต เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ปีที่รุ่นนี้เริ่มผลิตก่อน รุ่นนี้เริ่มผลิต ปี 1970 ถ้าเลขตัวนี้เป็น 1 จะเท่ากับว่านาฬิกาตัวนี้ผลิตปี1971 ถ้าเป็นเลขอื่นๆ ก็จะไล่ไปตามลำดับเลขตัวที่สอง 7 หมายถึง เดือนที่ผลิต เพราะฉะนั้นตัวนี้ผลิต เดือน กรกฎาคม ตัวเลขหลักนี้ใช้แทนเดือน 1-9 ส่วนเดือน10-12ใช้ตัวหนังสือคือ O, N, D ตามลำดับเลขสี่ตัวหลัง หมายถึงเลขประจำตัวเรือน ที่ไซโก้ใช้อ้างอิง ในกระบวนการผลิตและจัดการของไซโก้ส่วน คำว่า JAPAN J ด้านล่างตัวเลข หมายถึง โรงงานที่ผลิตของ ไซโก้ ในญี่ปุ่น ซึ่งมีอยู่หลายโรงงาน เพราะฉะนั้น อาจเป็น JAPAN Y, A, D หรือตัวอื่นๆ แล้วแต่ว่าออกมาจากโรงงานใหน ของไซโก้ ในญี่ปุ่น ใหนๆ ก็ใหนๆ แล้วเอาให้หมด ตัวเลขในขอบด้านบน 6119-84706119 คือ เลขรุ่นเครื่องจักรที่ใช้ในนาฬิกาตัวนี้ 8470 คือ เลขบอกลักษณะของ รูปร่าง ตัวเรือน


***ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ณ ที่นี้ด้วย

จริงหรือไม่ที่ว่านาฬิกานั้นเป็นแค่เครื่องบอกเวลาหรือเครื่องประดับ

 ก่อนที่ทุก ๆ ท่านจะอ่านบทความนี้ ผมมีคำถามเล็ก ๆ สำหรับทุก ๆ คน โดยขอท่านตั้งคำถามสำหรับตัวท่านในใจว่า นาฬิกาที่อยู่บนข้อมือของท่านที่...