วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ที่มาของชื่อเดือน(ไทย)

มารู้จักที่มาของชื่อเดือนไทยกัน แต่ก่อนอื่นของพูดถึงปฏิทินไทยคร่าวๆครับ คำว่า”ปฏิทิน” ที่ใช้กันในปัจจุบัน สมัยก่อนสะกดว่า”ประติทิน”ตามภาษาสันสกฤต หรือ”ประฏิทิน”หรือ”ประนินทิน”ตามภาษาบาลีแผลง โดยปฏิทินไทยมีขึ้นครั้งแรกวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385

ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่3ซึ่งขณะนั้นปฏทินยังคงใช้ตามแบบจันทรคติ แต่ต่อมามีวิธีนับ วัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า”สุริยคติ” จึงประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับแต่เดือนอ้าย เดือนยี่ จนถึงเดือน 12 มาเป็นแบบสุริยคติ จึงมีการกำหนดชื่อเดือนใหม่ขึ้นโดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ หรือ “พระบิดาแห่งการต่างประเทศของไทย” พระราชโอรสอันดับที่ 42 ของรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยได้ใช้ตามสุริยคติซึ่งนับวันและเดือนแบบสากลและได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงโปรดเกล้า ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2432 เรียกว่า “เทวะประติทิน” ที่เป็นต้นแบบของปฏิทินไทยในทุกวันนี้ สำหรับชื่อเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมนั้น สมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงใช้ตำราจักรราศีหรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ใน 1 ปี ที่ประกอบด้วย 12 ราศีตามวิชาโหราศาสตร์ มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน

ซึ่งแบ่งเป็นเดือนที่มี 30 วันและเดือนที่มี 31 วันอย่างชัดเจนด้วยการลงท้ายเดือน 30 วันว่า “ยม” และเดือนที่มี 31 ว่า “คม” ส่วนคำนำหน้ามาจากชื่อราศีที่ปรากฎในช่วงแต่ละเดือน เป็นการนำคำ 2 คามา “สมาส” กัน โดยคำต้นป็นชื่อราศี คำหลังคือคำว่า”อาคม”และ”อายน”ที่แปลว่า”การมาถึง”โดยมีที่มาดังนี้ มกราคม คือ “มกร” (มังกร) สมาสกับ “อาคม” แปลว่าการมาถึงของราศีมังกร กุมภาพันธ์ คือ “กุมภ์” (หม้อ) สาสกับ”อาพนธ” แปลว่าการมาถึงของราศีกุมภ์ มีนาคม คือ “มีน” (ปลา) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีมีน เมษายน คือ “เมษ” (แกะ) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีเมษ พฤษภาคม คือ “พฤษภ” (วัว, โค) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีพฤษภ มิถุนายน คือ “มิถุน” (ชายหนึ่งคู่) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีมิถุน กรกฎาคม คือ “กรกฎ” (ปู) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีกรกฎ สิงหาคม คือ “สิงห” (สิงห์) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีสิงห กันยายน คือ “กันย” (สาวพรหมจรรย์) สมาสกับ “อายม”แปลว่าการมาถึงของราศีกันย ตุลาคม คือ “ตุล” (ตาชั่ง) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีตุล พฤศจิกายน คือ “พิจิก” หรือ “พฤศจิก” (แมงป่อง) สมาสกับ “อายน”แปลว่าการมาถึงของราศีพิจิก ธันวาคม คือ “ธนู” (ธนู) สมาสกับ “อาคม”แปลว่าการมาถึงของราศีธนู





***ที่มา หนังสือ Watch World-Wide

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จริงหรือไม่ที่ว่านาฬิกานั้นเป็นแค่เครื่องบอกเวลาหรือเครื่องประดับ

 ก่อนที่ทุก ๆ ท่านจะอ่านบทความนี้ ผมมีคำถามเล็ก ๆ สำหรับทุก ๆ คน โดยขอท่านตั้งคำถามสำหรับตัวท่านในใจว่า นาฬิกาที่อยู่บนข้อมือของท่านที่...