วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

TAG HEUER CALIBRE 1887‏



เลขรุ่น 1887 ของเครื่องตัวใหม่ของ TAG Heuer นี้มีที่มาจากปีที่ Edouard Heuer คิดค้นระบบ Oscillating Pinion ขึ้น แต่เมื่อ TAG Heuer เปิดตัวเคร่ืงรุ่นนี้โดยระบุว่าเป็นเครื่องที่พัฒนาขึ้นเองแบบอินเฮ้าส์ทั้งหมดRobers ก็ได้รับทราบมาจากการประชุมกับวิศวกรของ TAG Heuer ว่าทางแบรนด์ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องรุ่นดังกล่าวเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจหลายประการมาตั้งแต่ที่เริ่มลงมือมาตั้งแต่ปี 2007
" เครื่องรุ่นนี้มีกลไกการจับเวลาแบบ Column Wheel และ Oscillating Pinion ซึ่งก็บังเอิญเป็นนวัคกรรมของ TAG Heuer ในปี 1887 เรียกได้ว่าเป็นเครื่องนาฬิกาจับเวลาที่มีความสวยงามรุ่นหนึ่งเลย "
" เราจะเห็นได้ว่าเครื่องรุ่นนี้ใช้ Balance Spring และ Shock Absorber แบบใหม่เพื่อเน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอยก่อนรูปลักษณ์ "



เมื่อ Roberts ได้วิเคราะห์เครื่อง Calibre 1887 ในรายละเอียดแล้วก็อดรู้สึกไม่ได้ว่านี่คือเครื่องที่ผ่านการคิดค้นใหม่โดยสมบูรณ์ อินเตอร์เฟชระหว่างเครื่องเบสและกลไกจับเวลาของเครื่องรุ่นนี้ทำงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือมี Oscillating Pinion ทำหน้าที่เชื่อมต่อชุดเกียร์โดยการเคลื่อน Pinion ในทิศทางแนวนอนเพื่อเข้าสัมผัส แต่อย่างที่ Roberts กล่าวว่า " แฟชั่นล่าสุดซึึ่งเราจะได้มาดูกันต่อไปในเครื่องของ Breitling ก็คือสิ่งที่เขาเรียกกันว่า Vertical Clutch ซึ่งก็ทำงานเหมือนกับครัทช์ในรถยนต์นี่แหละครับ เป็นชิ้นส่วนที่ช่วยให้คุณสามารถสั่งเริ่มต้นและหยุดการทำงานของกลไกจับเวลาได้ ระบบที่สามซึ่งเป็นแบบคลาสสิกเลยก็คือการใช้ Spur Gear ซึ่งสามารถควบคุมให้เริ่มต้นหรือหยุดการทำงานได้ด้วย Coupling Device "



วิศวกรรมล้ำเลิศ‏
" หากจะให้เปรียบเทียบก็คงพูดได้ว่าระบบของ TAG Heuer เป็นระบบที่ดีมาก มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นที่ประจักษ์ว่ามีการใช้งานกันในเครื่องนาฬิกาจำนวนมากกว่าระบบอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน "
Roberts ทราบมาว่า TAG Heuer ต้องใช้เวลากับการออกแบบวิศวกรรมกลไกเป็นอย่างมาก " ดีไซเนอร์ของเขาต้องออกแบบเครื่องใหม่หมด เพื่อเริ่มดูว่าจะผลิตแต่ละชิ้นอย่างไร ขั้นตอนนี้ไม่ใช่อะไรง่ายๆ อย่างที่ใครอาจจะคิด การทำให้ได้ดีและมีความสมบูรณ์ในทางวิศวกรรมอย่างที่ TAG Heuer ทำนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย "



" งานนี้เป็นงานที่ยากและละเอียดอ่อน และไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้มีราคาถูกเท่านั้นแต่ยังออกแบบมาเพื่อให้ผลิตโดยเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีความทันสมัยและเทคนิคการผลิตล่าสุดอีกด้วยชิ้นส่วนหลักของเครื่องทั้งเก้าชิ้น อาทิ Main Plate และ Bridge ทั้งหมดผลิตขึ้นที่โรงงาน Cormol ในเทือกเขาจูราของสวิส โรงงานแห่งนี้มีการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ล่าสุดจนเข้าขั้นเป็นโรงงานที่ล้ำสมัยที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ในขณะนี้ ส่วนการประกอบหลักนั้นทำที่โรงงานในลา โซซ์-เดอ-ฟงด์ส ซึ่งมีชื่อเรียกว่า T1 Assembly




" เกณฑ์สำคัญเกณฑ์หนึ่งของเขาเท่าที่ผมเข้าใจก็คือการเอาเครื่องอินส์เฮ้าส์ไปใส่ในนาฬิการะดับราคาเท่ากับที่ใช้เครื่อง Valjoux 7750 และ TAG Heuer ก็ทำเช่นนั้นได้จริงแล้วด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลย เมื่อก่อนนี้เครื่อง 7750 นี่ซื้อหากันได้ในราคาถูกมากๆ แต่ในทุกวันนี้กลับมีราคาที่แพงขึ้น แล้ววิธีการผลิตเครื่องแบบใหม่นี้ก็จะเป็นการประหยัดมากกว่า ในขณะที่ Breitling เลือกแก้ปัญหาในอีกแนวทางหนึ่ง "
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ
QP - DEVOTEDV TO FINE WATCHES Thai Edition
Issue Thirty Dec . 2010


พรุ่งนี้มาต่อกันครับยังไม่จบ.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น